http://www.amazon.co.uk/Balancing-Indirect-Approaches-Rodthong-Rattanan/dp/3639666143
http://www.amazon.co.uk/Balancing-Indirect-Approaches-Rodthong-Rattanan/dp/3639666143
Mixed Data between Social Subjects and Science Studies including any others.
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
นิวรณ์ 5
นิวรณ์ 5: กามฉันทะ(พอใจ
ใน ผัสสะ 6) พยาบาท(ไม่พอใจ)
ถินมินทะ( ขี้เกียจ ง่วงเหงา หาวนอน) วิจิกิจา
(ลังเล สงสัย)
นิวรณ์ 5
หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ
1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์
ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย)
อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)
2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ
ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก
คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง
เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย
ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย
หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส
(พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)
4.
อุทธัจจกุกกุจจะ
แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน
จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ
หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย
หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี
จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น
นิวรณ์ทั้ง 5
ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ
นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ
สังโยชน์ 10
สังโยชน์ 10
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา
มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา -
มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3.
สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร
หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส
เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น
ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย(โสดาบัน) ถือศีล 5 ไม่ด่างพร้อย มีสัมาทิฏฐิ ไม่ลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
ไม่นับถือศีลพรตเหล่าอื่น สังโยชน์อื่นๆเบาบางลง
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ –
มีความกระทบกระทั่งในใจ (สกิทาคามี ข้อ 4 และ 5 เบาบาง อนาคามี ละได้ทั้ง
5 ข้อแรก)
ข.
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ -
มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ -
มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ -
มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ -
มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา -
มีความไม่รู้จริง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)