วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

http://www.amazon.co.uk/Balancing-Indirect-Approaches-Rodthong-Rattanan/dp/3639666143

http://www.amazon.co.uk/Balancing-Indirect-Approaches-Rodthong-Rattanan/dp/3639666143

http://www.amazon.co.uk/Balancing-Indirect-Approaches-Rodthong-Rattanan/dp/3639666143

นิวรณ์ 5

นิวรณ์ 5:    กามฉันทะ(พอใจ ใน ผัสสะ 6) พยาบาท(ไม่พอใจ)  ถินมินทะ( ขี้เกียจ ง่วงเหงา หาวนอน)   วิจิกิจา (ลังเล สงสัย)
นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ
1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)
2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)
4. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

สังโยชน์ 10

สังโยชน์ 10
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย(โสดาบัน) ถือศีล 5 ไม่ด่างพร้อย มีสัมาทิฏฐิ ไม่ลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ไม่นับถือศีลพรตเหล่าอื่น  สังโยชน์อื่นๆเบาบางลง
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ – มีความกระทบกระทั่งในใจ (สกิทาคามี ข้อ 4 และ 5 เบาบาง  อนาคามี ละได้ทั้ง 5 ข้อแรก)
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน

10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

Gen Z


กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับ Generation Z : Gen Z

บทความโดย : สาระดีดี.คอม/ WWW.SARA-DD.COM


Generation Z หรือ Gen Z คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2554 อายุ 1 – 16 ปี (ปี พ.ศ.2553) ในปี พ.ศ. 2553 คาดว่ามีประชากรไทยอยู่ในกลุ่มอายุ Gen Z ประมาณ 16.5 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 25 % ของประชากรทั้งหมด (NationalMaster, 2553 : ออนไลน์)



Gen-Z เป็นประชากรกลุ่มอายุน้อยที่สุดในปัจจุบันในเจเนอเรชั่นนี้จะเป็นช่วงที่มีประชากรเกิดใหม่น้อยลงเนื่องจากอัตราเจริญพันธุ์ (Fertility Rate) หรือจำนวนทารกแรกเกิดโดยเฉลี่ยต่อหญิงหนึ่งคนตลอดชีวิตลดลงจากอดีต ซึ่งปัจจุบันสภาวการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยมีสาเหตุมาจากหลากหลายสาเหตุทั้ง 1) ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้นทำให้เกิดโอกาสในการทำงานมากขึ้น และมีความเป็นอิสระทางการเงินสูงทำให้ชะลอการแต่งงานและลดจำนวนการตั้งครรภ์ 2) การมีข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนคุณภาพสาธารณสุขที่ดีขึ้นและอุปกรณ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น 3) การเป็นเมืองเพิ่มขึ้นทำให้มีภาระด้านการดำเนินชีวิต การทำงาน ที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่าย และอื่นๆ ทำให้ทำให้ต้นทุนของการมีลูกสูงขึ้นยากต่อการมีลูกมากกว่า 1-2 คน (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิต, 2554 : ออนไลน์) ปรากฎการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลให้ประชากรที่เกิดในใหม่ในรุ่นดังกล่าวเติบโตขึ้นท่ามกลางการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงมากยิ่งขึ้นเช่นกัน (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553 : ออนไลน์)

Gen Z เป็นกลุ่มประชากรเจเนอเรชั่นใหม่ที่กำลังถูกจับตามองจากนักการตลาด ซึ่งได้ถูกกำหนดว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยที่สุดในปัจจุบัน โดยจะเป็นกลุ่มที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ซึ่งหากพิจารณาถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอายุที่แก่ที่สุดของคนกลุ่มนี้จะมีอายุประมาณ 16 ปี ส่วนอายุน้อยที่สุดคือทารกแรกเกิด และยังจะรวมถึงผู้ที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา และที่กำลังจะเกิดในอนาคตด้วย

ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z แม้ว่าจะมีปริมาณประชากรลดน้อยลง แต่ก็นับเป็นกลุ่มอายุที่มีอำนาจซื้อสูงขึ้นและการใช้จ่ายต่อคนก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการสามารถเข้าใจและสร้างพฤติกรรมการบริโภคจากลูกค้ากลุ่มวัยนี้ได้อาจสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่ากลุ่มลูกค้า Generation อื่นๆ ได้ค่อนข้างสูง นักการตลาดคาดว่า

 

คนกลุ่มวัย Gen Z จะมีความเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่ากลุ่มคน Gen Y ผู้บริโภควัย Gen Z ต้องการสินค้าเฉพาะเจาะจงที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย Gen Z มีทัศนคติเป็นผู้ที่ชื่นชอบการใช้จ่าย เพื่อสร้างความสุขความพอใจกับตนเอง มีความละเอียดลออ รวมถึงช่องทางเสมือนจริงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิต (live Style) ของคนกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย ผู้บริโภควัย Gen Z รู้ตัวว่าเขาต้องการอะไรและเขาเองก็มีเงินพอจะจ่ายด้วย การตลาดแบบโฆษณาชวนเชื่อมักจะแฝงมากับอินเทอร์เน็ตและนิตยสารตลอดเวลา ดังนั้นนักการตลาดควรจะมีความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนใครเพื่อให้ผู้บริโภค Gen Z เห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และเลือกใช้สินค้าด้วยความเต็มใจ

Gen Z ในกลุ่มเด็กวัยทวีนที่คาบเกี่ยววัยเด็กและวัยรุ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาด พวกเขามีกิจกรรมเชิงสังคมและพฤติกรรมการสมาคมผ่านระบบเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า กรณีกลุ่ม Gen Z วัยเด็กในสหรัฐฯใช้เวลามากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันในการใช้สื่อที่แตกต่างกันออกไป ในขณะที่กว่าร้อยละ 50 ของเด็กยุโรปใช้อินเทอร์เน็ตตั้งแต่อายุ 8 ขวบ นั่นหมายความว่า สถานที่เล่นของเด็กและวัยรุ่น เปลี่ยนจากการการวิ่งเล่นกลางแจ้ง มาอยู่หน้าจอตั้งแต่ยังเล็ก (ผู้จัดการรายสัปดาห์, 2550 : ออนไลน์) ซึ่งบางครั้งพวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารจนล้น ข้อมูลต่างๆ มีทั้งเรื่องจริงและข้อมูลแบบโคมลอย นักโฆษณาจึงต้องพยายามอย่างหนักเพื่อชิงความสนใจจากพวกเขาให้ได้โดยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อวัย Gen Z กลุ่มนี้ ในขณะเดียวกันก็สร้างความสนใจและก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคให้เกิดขึ้นให้ได้ ดังนั้น 1) ทางเลือก 2) การควบคุม และ 3) ความสะดวก คือหัวใจสำคัญสำหรับประชากรวัยดิจิตอลกลุ่มนี้ ในขณะที่ตราสินค้าอย่าง Absolut, Nike และ GAP สามารถดึงวัยรุ่นจากหน้าจอเว็บไซต์ได้ ข้อความ SMS บนจอทีวีก็เป็นตัวตรึงความสนใจให้เกาะติดจอมากขึ้นและสามารถสร้างผลกำไรที่สูงขึ้น John Gordon ซีอีโอของ Xtreme Information ออกมากล่าวว่า อำนาจซื้อของวัยรุ่นพุ่งทะลุเพดานไปแล้ว ต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้วัยรุ่นมีบทบาททางสังคมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ด้วยเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่วนอยู่ในตลาดที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือเร็วเช่นนี้ จึงทำให้แบรนด์ชั้นนำจับทางได้และไม่ยอมพลาดที่จะรีบฉวยโอกาสกระโดดเข้าร่วมวง” (Positioning Magazine, 2548 : ออนไลน์)

นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Gen Z วัยเด็กซึ่งเป็น Generation Z อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นที่จับตาของนักการตลาด โดยการสำรวจวิจัยจากทางฝั่งยุโรป ได้ทำการศึกษาการส่งเสริมการตลาดของลูกค้าในกลุ่มนี้ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งของบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยว่า หากสตรีที่กำลังมีครรภ์ได้สัมผัสกับแคมเปญการตลาดต่างๆ อาทิเช่น เพลงจิงเกิ้ลของโฆษณา โทน ทำนองเพลง และข้อความต่างๆ ที่ตั้งใจออกแบบเฉพาะให้รื่นรมย์ และสื่อสารกับเด็กทารก พบว่าประมาณร้อยละ 77 ของเด็กที่เกิดใหม่ทั้งหมดนั้นสามารถจดจำและคุ้นเคยกับตราสินค้าดังกล่าวได้ ทั้งยังทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะพอใจตราสินค้าดังกล่าวเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ต่อไปด้วย ดังนั้น จึงได้เริ่มมีกลยุทธ์การทำตลาดกับ Gen Z โดยมีการพัฒนาแคมเปญการส่งเสริมการตลาดต่อกลุ่มนี้ โดยแบ่งเป็นแคมเปญที่จะสื่อสารกับเด็กที่อยู่ในครรภ์กับเด็กทารกที่เพิ่งเกิดมาอายุไม่เกิน 2-3 ปี

แคมเปญอีกลักษณะหนึ่ง คือ การมุ่งไปยังเด็กทารกที่มีอายุไม่เกิน 2-3 ปี จากการวิจัยปรากฏว่าเด็กในช่วงนี้จะสามารถซึมซับจดจำทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวได้ง่าย สมองของเด็กยังว่างและมีอำนาจในการเรียนรู้สูง พร้อมจะดูดซึมทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในประสาทสัมผัส ดังนั้น แคมเปญที่พัฒนาจะใช้ประสาทสัมผัสทุกประการ (Sensory Marketing) ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่จะสื่อสารครบทุกช่องทางกับเด็กๆ เริ่มจากรูปภาพ การออกแบบ ดีไซน์ที่สวยงาม เตะตา สีสันที่ชวนให้เกิดความสนใจและตื่นเต้นต่อเด็กๆ รสชาติและกลิ่นที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัย เสียงเพลง ทำนอง โทนการพูดและข้อความการสื่อสารที่น่าประทับใจต่อเด็กวัยดังกล่าว รวมถึงการให้ใช้การสัมผัสกับสิ่งของชิ้นส่วนต่างๆ ที่ตราสินค้านั้นสร้างขึ้น ซึ่งน่าจะนำไปสู่ความพึงพอใจ ความคุ้นเคย และความเชื่อมั่นต่อตราสินค้าของคนกลุ่มนี้เมื่อเติบโตขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ มีหลายกิจการในยุโรปที่เริ่มพัฒนาห้องทดลองหรือโชว์รูมที่จำลองสถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการของแต่ละแบรนด์ เพื่อให้บริการกับเด็กวัยเตาะแตะ และสื่อสารสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้เด็กเหล่านั้น เพื่อที่วันหน้าจะได้เป็นการสร้างความภักดีให้กับคนกลุ่มนี้เมื่อเติบใหญ่ต่อไปในอนาคต (ธีรยุส วัฒนาศุภโชค, 2550 : ออนไลน์)

ดังนั้นการทำตลาดสำหรับกลุ่ม Gen Z จึงไม่เพียงเจาะไปที่ตัวผู้บริโภควัย Gen Z เท่านั้นแต่ยังต้องยังคำนึงถึงผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของกลุ่ม Gen Z เหล่านี้ด้วย เช่น อายุของพ่อแม่ โดยนักการตลาดเชื่อว่าหากกลุ่มลูกค้าของตนมีพ่อแม่อายุน้อย การจำหน่ายสินค้าอาจจะหวังที่จะสร้างกลุ่มลูกค้าทั้งครอบครัว เพราะพ่อแม่ก็อยากเล่นสิ่งที่เป็นความต้องการในวัยเด็กแต่ขาดโอกาสเพราะมีลูกเร็วเกินไป จึงซื้อสินค้าเพื่อตนเองพอๆ กับเพื่อลูกหลานของตน เช่น ในการซื้อชุดนอนที่เป็นลายเฮลโลคิตตี้ หรือการเที่ยวสวนสนุก ในกรณีของพ่อแม่ที่ทำงานหนัก มีเวลาว่างให้กับลูกไม่มาก จะใช้การซื้ออาหารและของเล่นเพื่อเพิ่มความสุขให้กับลูกๆ ของตนทดแทนกับความรักที่มีให้กับลูก ในบางครั้งนักการตลาดพบว่ากำลังเผชิญหน้ากับพ่อแม่ที่มีความขัดแย้งในการซื้อหาความสุขให้กับลูกหลาน หรือมีไอเดียไม่ชัดเจนว่าจะหาซื้อสินค้าใดให้กับลูกของตน ผู้ปกครองพวกนี้จะมีพฤติกรรมการไปร้านอาหาร ไปสถานที่ที่ซ้ำๆ กัน เพราะไม่รู้ว่าจะไปไหนดี พ่อแม่เหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่คอยอาศัยการโฆษณาเป็นเครื่องนำทางและช่วยในการตัดสินใจ

โลกของการตลาดสำหรับสินค้าวัย Gen Z ไม่มีปัจจัยเชิงเศรษฐกิจเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ค่าเช่า หรือค่าสาธารณูปโภค ที่เป็นรายจ่ายประจำของพ่อแม่ จึงเป็นตลาดที่ทรงพลังในด้านการใช้จ่ายมากกว่ากลุ่มช่วงวัยอื่นมาก แต่การตลาดสำหรับกลุ่มวัย Gen Z ก็ยังไม่ใช่ตลาดที่ทำได้ง่ายเพราะพวกเขาไม่ได้ชอบเหมือนกันไปหมด แต่น่าแปลกที่พวกเขามักจะเกลียดในสิ่งเดียวกันหรือคล้ายๆ กัน นักการตลาดจึงต้องหาให้ได้ว่าวัย Gen Z ที่เป็นเป้าหมายของตนเกลียดสิ่งไหน และชอบสิ่งไหน สนุกกับเรื่องใด เพื่อที่จะสามารถเจาะตลาดคนวัย Gen Z ได้ตรงเป้าหมายมากที่สุด (ผู้จัดการรายสัปดาห์, 2550 : ออนไลน์)

 

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญหาการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ปัญหาการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
1.นายทุนซื้อ สส ที่มีโอกาสได้รับเลื่อกตั้งสูงในแต่ละเขตเลื่อตั้ง
2. เกิดเผด็จการรัฐสภา ผ่านกฏหมายที่ไม่ได้รับการยอมรับเพื่อช่วยตัวบุคคล แบบลักหลับ
3. สภาเผด็จการต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จในการเจรจาผลประโยชน์กับต่างชาติ(แก้ ม.190 รธน50)
4. เปลี่ยนกฎหมาย รธน ที่มา สว. ถุกศาล รธน ตัดสินว่า ผิดกฎหมาย และการทุจริตเสีบยบบัตรแทนกัน หลังจากนี้นประกาศไม่ยอมรับการตัดสิน และไม่ยอมรับ ศาล รธน. แต่เคยประกาศขอบคุณศาล ตอนตัดสินเป็นประโยชน์ต่อพรรคตน
5. คลิป ถังเช่า และ คลิป ปธ.สมศักดิ์ฯ วางแผนพาอดีต นายกฯกลับเมืองไทย
6. การผ่านกฎหมายเงินช่วยเหลือคนเสื้อแดงเป็นจำนวนเงินสูงมาก
7. ปัญหา งป.การจัดการน้ำ และการไม่ยอมทำประชาพิจารณ์
8. ปัญหาการกู้เงิน 2 ล้านล้าน โดยไม่ผ่าน พรบ.งป.รายจ่ายประจำปี จะทำให้เกิดหนี้รายหัวสูงมากต่อคน เป็นเวลานานกว่า 50 ปี
10.ปัญหาว่า สส แบบสัดส่วน ปชช ไม่มีสิทธิเลือก เป็นการจัดจากพรรค และมีการตอบแทนนำแกนนำม็อบเข้ามารับตำแหน่งเป็นจำนวนมาก
11. ทำให้เกิดคำถามการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ชอบ โดยใช้ม็อบ และการก่อการร้าย
12. การเลือกตั้งยังมีตัวเลือกที่จำกัด มีแค่ 2 พรรคใหญ่และผู้สมัครที่เป็นวิกฤตตัวเลือก ไม่มีขีดความสามารถมากนักในการบริหารบ้านเมือง
13. บางครั้งไม่ได้่ชอบทุกนโยบาย แต่ไม่มีวิธีเอานโยบายบางข้อออก ได้ ต้องเลือกหมด
14. เลือกแล้วไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ และไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาสังคม และใช้อำนาจในสภาจากการสั่งการจากผู้นำเพียงคนเดียว การอภิปรายไม่มีประโชน์ในการตรวจสอบจริง
15. วิจารณญานในการเลือก โดยสมสุติฐานว่า 1 คน 1 เสียงเท่ากัน ถ้าคนเท่ากัน จะไม่เกิดปรากฎการณ์ คนต่างจังหวัดเลือก สส ส่วนใหญ่เพื่อเป็นรัฐบาล แต่คนในเมืองกรุงไล่รัฐบาลนั้น เป็นเวลายาวนานมาก และเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ทุกวันนี้

ข้อดีของเหตูการณ์นี้ฯ คนจำนวนมากกำลังตื่นตัวมีความรู้มากขึ้น ไม่ถูกหลอกโดยนักวิชาการกลุ่มเก่าๆทางรัฐศาสตร์อีกต่อไป มันหลอกกันไม่ได้แล้วยุคนี้ ใช่ว่าความเสียหายพวกคุณจะรับผิดชอบไหว แต่พวกคุณไม่เคยจะคิดรับผิดชอบชั่วดีต่างหาก

ปัญหาการเลือกตั้งมันเยอะมาก แต่ถ้าไม่ใช้เลือกตั้งแล้วจะออกแบบอย่างไร อย่างไรก็ตามไม่ควรคิดแค่ เกลียดรัฐประหารเลยจะเอาเลือกตั้ง หรือ ประชานิยมทำให้ประชาธิปไตยกินได้  หรือ กลัวต่างชาติไม่ยอมรับ อย่าคิดแค่นี้ ถ้าปัญหาที่ตามมามันยิ่งเลวร้ายกว่านี้ จะอยู่กันยังไง

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

คิดยกกำลังสอง: เราจะอยู่กับประชานิยมกันอย่างไร ไม่ให้วิกฤติ

นักวิชาการเก่า และ ความไม่เท่าเทียม

การเคลื่อนไหวของนักวิชาการรุ่นเก่า วิชาการเก่าๆ ที่ ไม่อาเจ้า อยู่ตรงข้ามกับอำนาจเก่า  และ มีความชิงชังในอดีตเป็นแรงขับ ก็คือรูปแบบหนี่งที่อยากจะมีส่วนแบ่งกับอำนาจในสังคมที่นอกเหนือจาก นายทุน และ นักการเมือง บางคนหวังจะเป็นนักการเมืองเองด้วยซ้ำ  การหลอกลวงสังคมด้วยวิชาการแบบเก่าๆหากินไม่ได้แล้ว ในยุคข้อมูลข่าวสารและสังคมออนไลน์
ถึงแม้จะใช้หลังพิงหลักการตะวันตก และ ทิ้งความเป็นไทยในบริบทไทย เพื่อการต่อสู้ของตน ทิ้งความเป็นไทยในบริบทไทยนั้นน่ากลัวถ้าไม่เหลือสิ่งเหล่านี้ คนไทยจะไม่มีอะไรยึดโยงกันเป็นวัฒนธรรมองค์กร จนทำให้ไม่มีเหตุผลต้องอยู่ร่วมกันและเรียกตัวเองว่าไทยอีก และรัฐไทยก็จะไม่เหลือ พูดง่ายๆว่าสิ้นชาติ  นักวิชาการกลุ่มนั้นผู้มีแรงขับจากความเกลียดชังและอยากมีส่วนร่วมกับอำนาจก็ไม่ต่างอะไรกับคนขายชาตินั่นเอง
แล้วจะไปเชื่อพวกเขาทำไม
สุภาษิตไทย มีคำหนึ่ง คือ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้จบปริญญาสูง เพื่อ ความเท่าเทียม มีความไม่เป็น ตรรกะ เพราะการนำวุฒิสูงมาอ้างความชอบธรรมว่าตนเองถูก ก็เป็นการสนับสนุนว่าคนไม่เท่ากัน วัดคนที่ปริญญา จึงขัดแย้งในตนเอง อย่างไม่น่าจะมีแผ่นดินอยู่

การศึกษาคือการผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม