วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญหาการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ปัญหาการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
1.นายทุนซื้อ สส ที่มีโอกาสได้รับเลื่อกตั้งสูงในแต่ละเขตเลื่อตั้ง
2. เกิดเผด็จการรัฐสภา ผ่านกฏหมายที่ไม่ได้รับการยอมรับเพื่อช่วยตัวบุคคล แบบลักหลับ
3. สภาเผด็จการต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จในการเจรจาผลประโยชน์กับต่างชาติ(แก้ ม.190 รธน50)
4. เปลี่ยนกฎหมาย รธน ที่มา สว. ถุกศาล รธน ตัดสินว่า ผิดกฎหมาย และการทุจริตเสีบยบบัตรแทนกัน หลังจากนี้นประกาศไม่ยอมรับการตัดสิน และไม่ยอมรับ ศาล รธน. แต่เคยประกาศขอบคุณศาล ตอนตัดสินเป็นประโยชน์ต่อพรรคตน
5. คลิป ถังเช่า และ คลิป ปธ.สมศักดิ์ฯ วางแผนพาอดีต นายกฯกลับเมืองไทย
6. การผ่านกฎหมายเงินช่วยเหลือคนเสื้อแดงเป็นจำนวนเงินสูงมาก
7. ปัญหา งป.การจัดการน้ำ และการไม่ยอมทำประชาพิจารณ์
8. ปัญหาการกู้เงิน 2 ล้านล้าน โดยไม่ผ่าน พรบ.งป.รายจ่ายประจำปี จะทำให้เกิดหนี้รายหัวสูงมากต่อคน เป็นเวลานานกว่า 50 ปี
10.ปัญหาว่า สส แบบสัดส่วน ปชช ไม่มีสิทธิเลือก เป็นการจัดจากพรรค และมีการตอบแทนนำแกนนำม็อบเข้ามารับตำแหน่งเป็นจำนวนมาก
11. ทำให้เกิดคำถามการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ชอบ โดยใช้ม็อบ และการก่อการร้าย
12. การเลือกตั้งยังมีตัวเลือกที่จำกัด มีแค่ 2 พรรคใหญ่และผู้สมัครที่เป็นวิกฤตตัวเลือก ไม่มีขีดความสามารถมากนักในการบริหารบ้านเมือง
13. บางครั้งไม่ได้่ชอบทุกนโยบาย แต่ไม่มีวิธีเอานโยบายบางข้อออก ได้ ต้องเลือกหมด
14. เลือกแล้วไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ และไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาสังคม และใช้อำนาจในสภาจากการสั่งการจากผู้นำเพียงคนเดียว การอภิปรายไม่มีประโชน์ในการตรวจสอบจริง
15. วิจารณญานในการเลือก โดยสมสุติฐานว่า 1 คน 1 เสียงเท่ากัน ถ้าคนเท่ากัน จะไม่เกิดปรากฎการณ์ คนต่างจังหวัดเลือก สส ส่วนใหญ่เพื่อเป็นรัฐบาล แต่คนในเมืองกรุงไล่รัฐบาลนั้น เป็นเวลายาวนานมาก และเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ทุกวันนี้

ข้อดีของเหตูการณ์นี้ฯ คนจำนวนมากกำลังตื่นตัวมีความรู้มากขึ้น ไม่ถูกหลอกโดยนักวิชาการกลุ่มเก่าๆทางรัฐศาสตร์อีกต่อไป มันหลอกกันไม่ได้แล้วยุคนี้ ใช่ว่าความเสียหายพวกคุณจะรับผิดชอบไหว แต่พวกคุณไม่เคยจะคิดรับผิดชอบชั่วดีต่างหาก

ปัญหาการเลือกตั้งมันเยอะมาก แต่ถ้าไม่ใช้เลือกตั้งแล้วจะออกแบบอย่างไร อย่างไรก็ตามไม่ควรคิดแค่ เกลียดรัฐประหารเลยจะเอาเลือกตั้ง หรือ ประชานิยมทำให้ประชาธิปไตยกินได้  หรือ กลัวต่างชาติไม่ยอมรับ อย่าคิดแค่นี้ ถ้าปัญหาที่ตามมามันยิ่งเลวร้ายกว่านี้ จะอยู่กันยังไง

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

คิดยกกำลังสอง: เราจะอยู่กับประชานิยมกันอย่างไร ไม่ให้วิกฤติ

นักวิชาการเก่า และ ความไม่เท่าเทียม

การเคลื่อนไหวของนักวิชาการรุ่นเก่า วิชาการเก่าๆ ที่ ไม่อาเจ้า อยู่ตรงข้ามกับอำนาจเก่า  และ มีความชิงชังในอดีตเป็นแรงขับ ก็คือรูปแบบหนี่งที่อยากจะมีส่วนแบ่งกับอำนาจในสังคมที่นอกเหนือจาก นายทุน และ นักการเมือง บางคนหวังจะเป็นนักการเมืองเองด้วยซ้ำ  การหลอกลวงสังคมด้วยวิชาการแบบเก่าๆหากินไม่ได้แล้ว ในยุคข้อมูลข่าวสารและสังคมออนไลน์
ถึงแม้จะใช้หลังพิงหลักการตะวันตก และ ทิ้งความเป็นไทยในบริบทไทย เพื่อการต่อสู้ของตน ทิ้งความเป็นไทยในบริบทไทยนั้นน่ากลัวถ้าไม่เหลือสิ่งเหล่านี้ คนไทยจะไม่มีอะไรยึดโยงกันเป็นวัฒนธรรมองค์กร จนทำให้ไม่มีเหตุผลต้องอยู่ร่วมกันและเรียกตัวเองว่าไทยอีก และรัฐไทยก็จะไม่เหลือ พูดง่ายๆว่าสิ้นชาติ  นักวิชาการกลุ่มนั้นผู้มีแรงขับจากความเกลียดชังและอยากมีส่วนร่วมกับอำนาจก็ไม่ต่างอะไรกับคนขายชาตินั่นเอง
แล้วจะไปเชื่อพวกเขาทำไม
สุภาษิตไทย มีคำหนึ่ง คือ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้จบปริญญาสูง เพื่อ ความเท่าเทียม มีความไม่เป็น ตรรกะ เพราะการนำวุฒิสูงมาอ้างความชอบธรรมว่าตนเองถูก ก็เป็นการสนับสนุนว่าคนไม่เท่ากัน วัดคนที่ปริญญา จึงขัดแย้งในตนเอง อย่างไม่น่าจะมีแผ่นดินอยู่

การศึกษาคือการผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม