วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ ของ Edgar Schein 3 ระดับ

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ
        เอ็ดการ์ ชายน์  (Edgar Schein)  เสนอวัฒนธรรมองค์การมี 3 ระดับ คือ
                1. วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) : วัฒนธรรมทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมองเห็นและสัมผัสได้ง่าย จับต้องได้ สามารถได้ยิน หรือรู้สึกได้ง่ายเมื่อเข้าไปในองค์การใดองค์การหนึ่ง เป็นระดับวัฒนธรรมพื้นผิวที่สุด  จำแนกได้ 3 ประเภทคือ
ประเภทกายภาพ : ศิลปะการออกแบบ Logo ตึก อาคาร/การตกแต่ง การแต่งตัวเครื่องแบบ วัตถุสิ่งของอุปกรณ์  เฟอร์นิเจอร์ในองค์การ การวาง Lay out เช่น ตึกจะไม่มีชั้น /ห้อง 13 ในอเมริกา
ประเภทพฤติกรรม : พิธีกรรมรับน้อง  รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี การให้รางวัลการลงโทษ เช่น อียิปต์ ถอดรองเท้าวางประกบกัน(ฝุ่นทราย)
ประเภทภาษา :  เรื่องเล่า/ประวัติศาสตร์ ชื่อ ชื่อเล่น ศัพท์เทคนิค คำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในหน่วยงาน เรื่องตลกในหน่วยงาน คำอธิบาย วีรชน ทรชน คำอุปมาอุปมัย คำขวัญ เช่น ของนิด้า คือ  B Of K, บูรณาการ , paradigm, change agent
                2. ค่านิยม        (Values) ค่านิยมเป็นสิ่งที่ตกลงร่วมกันในองค์การว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ เป็นการตีความ เป็นหลักการ เป้าหมายและมาตรฐานทางสังคม เป็นสิ่งที่บอกว่าสมาชิกสนใจใส่ใจเรื่องใด จะเป็นระดับที่ลึกกว่าระดับแรก
        ค่านิยมกับบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติ (Norm) จะต่างกัน ตรงที่ค่านิยมจะเกี่ยวข้องกับนามธรรม เช่น การมีวินัย  การตรงต่อเวลา...... ความซื่อสัตย์ ความดี ความโปร่งใส ความมีน้ำใจ........ แต่บรรทัดฐานจะเป็นรูปธรรม เช่น การเข้าคิว ถือเป็น Norm การไม่เปิดมือถือในห้องเรียนถือเป็น Norm แต่ Norm จะถูกกำหนดโดยค่านิยม ต้องสร้างค่านิยมก่อนมากำหนดธรรมเนียมปฏิบัติ เช่น การปิดมือถือในห้องเรียนเป็นบรรทัดฐานที่มาจากค่านิยมของการรู้จักเกรงใจคนอื่น  การใส่เครื่องแบบมาจากค่านิยมความเป็นระเบียบ
        การกำหนดค่านิยม สามารถทำได้ง่าย และการปฏิบัติยากต้องมีการกำหนด norm กำกับด้วยทุกครั้ง เช่น การตรงต่อเวลา กำกับด้วย เวลา 8.00 น. พร้อมนั่งโต๊ะทำงานทุกคน  ไม่ใช่มาเซ็นชื่อแปดโมง แต่ตัวไม่อยู่ทำงาน ไปทางข้าว ไปคุยกับคนอื่น
        ในองค์การจะมีคำว่า Core Values คือค่านิยมหลักขององค์การ ทุกคนปฏิบัติ เข้าใจตรงกัน และทำให้บรรลุพันธกิจหรือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายได้ ซึ่งค่านิยมหลักจะต้องสอดคล้องกับธุรกิจหลักขององค์กร เช่น ธนาคารค่านิยมหลักคือความซื่อสัตย์ โรงพยาบาลค่านิยมหลักคือคุณภาพ ธุรกิจน้ำมันค่านิยมหลักขององค์การธุรกิจน้ำมันคือความปลอดภัยนอกเหนือไปจากค่านิยมอื่นๆคือคุณภาพน้ำมัน
เพราะฉะนั้น Core Values จะต้อง
        – สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ขององค์การ
        - สอดคล้องกับพันธกิจ
สอดคล้องกับธุรกิจ
        แต่ละองค์การจะมีค่านิยมหลักไม่เหมือนกัน จะเป็นค่านิยมที่สนับสนุนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และจะไม่เปลี่ยนแปลงง่าย จะไม่ใช่ Maximize profit ในองค์การอมตะ
                3. ฐานคติ (Assumptions)  เป็นระดับวัฒนธรรมที่สมาชิกในองค์การแสดงออกโดยอัตโนมัติ แสดงออกโดยไม่รู้สึกตัว (Unconsciously) เป็นสิ่งที่คนในองค์กรคิดว่าถูกต้อง และต้องทำ สิ่งที่จะต้องทำมาเป็น Assumptions จะเป็นค่านิยมร่วมขององค์การหรือ Core Values
EX: บริษัท Shell  ที่มีค่านิยมเรื่องความปลอดภัยเป็นค่านิยมหลักขององค์การและคนในองค์การจะมีวัฒนธรรมเรื่องความปลอดภัยเป็นบรรทัดฐาน  เช่นมีงานสัมมนาขององค์การ พิธีกรจะกล่าวทักทายผู้ร่วมสัมมนาและพูดถึงประตูหนีไฟก่อนประเด็นอื่นๆ แสดงว่าความปลอดภัยเป็น Assumption ของพนักงานในบริษัท เป็นต้น
        สรุป :  ระดับที่ 1  จะเปลี่ยนง่ายที่สุด   ส่วนระดับ 3  เปลี่ยนยากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น