วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

รู้จัก StartUp


https://www.youtube.com/watch?v=ijhCpg_fPi0

Chaiyo Traveling Network "Life is traveling and to visit BKK, the best place on earth"












Rattanan RODTHONG (Yo)
Senior Manager
Office/Fax: 02-881-7289 
Thai Cell Phone: 0876830303
FacebookID: Rattanan Rodthong
LineID: jofare email: chaiyo31@hotmail.com 

BANGKOK ENTREPRENEURS เตรียมจัดประชุมสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศไทย ยกพลทุกภาคส่วนในวงการเทคโนโลยีมาไว้ในงาน Thailand Startup Summit 2016


BANGKOK ENTREPRENEURS เตรียมจัดประชุมสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศไทย ยกพลทุกภาคส่วนในวงการเทคโนโลยีมาไว้ในงาน Thailand Startup Summit 2016





กรุงเทพฯ ประเทศไทย – ทีมงาน ‘Bangkok Entrepreneurs’ ภูมิใจนำเสนอการประชุมสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพ Thailand Startup Summit 2016 โดยงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 มีนาคม ณ โรงแรมแรมแบรนดท์ สุขุมวิท 18 การประชุมในครั้งนี้จะรวบรวมเอา กลุ่มสตาร์ทอัพที่มาแรงที่สุดในประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมงานจะได้รับฟังประเด็นสำคัญต่างๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะ ผู้ร่วมสนทนาจากบริษัทสตาร์ทอัพ ธุรกิจร่วมลงทุน และนักลงทุนที่น่าจับตามอง โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 400 คนในปีนี้
 
            ผู้เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้ถึงความคิดสร้างสรรค์และความชาญฉลาดของธุรกิจสตาร์ทอัพจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งโอกาสพิเศษ ในการพบปะผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ เพื่อค้นพบว่าใครได้รับเงินทุน และเหตุผลในการได้เงินทุน ยังไม่หมด เพียงเท่านี้  ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับโอกาสในการสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในคอมมูนิตี้ธุรกิจสตาร์ทอัพอีกด้วย
 
            เหล่าบริษัทสตาร์ทอัพมืออาชีพที่มีผลประกอบการดี และประสบความสำเร็จมาโดยตลอด จะมาให้เคล็ดลับ และคำแนะนำแก่ ผู้เข้าร่วมงาน หนึ่งในนั้นคือ มร. ไมเคิล คลูเซล ผู้ก่อตั้ง กลุ่มบริษัท อีททิโก (Eatigo) ที่จะมาเป็นวิทยากรหลักในการประชุม สุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพ Thailand Startup Summit 2016 โดยจะมาพูดคุยถึงวิธีที่ อีททิโก(Eatigo) ได้ระดมทุนสนับสนุนธุรกิจ จำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งการจัดสรรเงินทุนเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
            “อีททิโก ได้ใช้ต้นแบบการทำธุรกิจแบบเพิ่มผลกำไรจาก Yield Management Business Model” มร.ไมเคิล คลูเซล กล่าว “อีททิโกดำเนินธุรกิจแบบเดียวกันกับที่สายการบินและโรงแรมต่างๆ ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลาหลายปี และการนำเอา กลยุทธ์ดังกล่าวมาปรับใช้กับธุรกิจร้านอาหาร ทำให้บริษัทของเราประสบความสำเร็จอย่างเช่นทุกวันนี้”
 
            นอกจากการได้รับฟังประเด็นสำคัญต่างๆ จากวิทยากรและคณะผู้ร่วมสนทนาเกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างเต็มวันแล้ว  ในช่วงท้ายของงานจะมีกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่จะดึงเอาวิทยากรพิเศษและเหล่ามืออาชีพในแวดวงกว่า 500 คนเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมจัดอาหารว่างและเครื่องดื่มไว้คอย บริการ”
 
            Amadeus (อะมาดิอุส) ผู้นำตลาดโลกด้านเทคโนโลยีการท่องเที่ยวจะมาออกบูธแสดงการให้บริการ ณ บริเวณพื้นที่จัดแสดง นิทรรศการ และจะร่วมเป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมสนทนาด้านเทคโนโลยีในการประชุมสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพ Thailand Startup Summit 2016 ทั้งนี้ Amadeus เพิ่งเปิดตัวบริษัทในเครืออย่าง Amadeus Next (อมาเดอุส เน็กซ์) ที่งานเอชเชอลอน ประเทศไทย ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยในปัจจุบัน Amadeus ได้ร่วมงานกับธุรกิจสตาร์ทอัพดาวรุ่งอีกหลายราย
 
            “Amadeus ได้จัดตั้งคอมมูนิตี้สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษา พันธมิตรทางธุรกิจ และช่วยส่งเสริมในด้านการพัฒนา โดยเสนอทางเลือกด้านเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ ช่องทางการติดต่อและเงินทุน” มร.อัลเบิร์ต พอนโซ ประธานบริหารแห่ง Amadeus ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าว
 
            การประชุมสุดยอดธุรกิจสตาร์ทอัพ Thailand Startup Summit 2016 เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยี และธุรกิจสตาร์ทอัพ ได้เข้าร่วมงาน โดย Bangkok Entrepreneurs แนะนำให้ผู้สนใจเข้าร่วมงานในปีนี้ ซื้อบัตรเข้าร่วมงานโดยเร็ว เนื่องจากบัตรมี จำนวนจำกัด ผู้ที่ซื้อบัตรล่วงหน้าจะได้เรท Early Bird ในราคา 1,990 บาท ซึ่งสามารถเข้าร่วมงานได้เต็มวัน เข้าชมนิทรรศการ เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจสตาร์ทอัพ และเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเครื่องดื่มฟรีสำหรับสองที่ ในตอนเย็น บัตรเข้าร่วมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพียงอย่างเดียวราคาอยู่ที่ 700 บาท
 
สามารถซื้อบัตรได้แล้วที่ https://thailandstartupsummit2016.eventbrite.com/

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่าง Startup และ SME อยู่ที่วิธีการหาเงินลงทุน…

Startup คืออะไร?

คำนี้ถูกใช้กันมากใน 2 – 3 ปีหลัง ถ้าแปลตรงตัว มันก็คือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่
อ้าว และมันต่างกับ SME ยังไง?” นี่คำถามที่หลายคนสงสัยและเข้าใจผิด
Startup’ คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่าง Startup และ SME อยู่ที่วิธีการหาเงินลงทุน…
Startup ไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่สามารถนำเสนอไอเดีย เพื่อซื้อใจนักลงทุน ให้เห็นศักยภาพและมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งงานที่เปิดโอกาสให้ Startup เสนอไอเดียนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ภายในประเทศเท่านั้น จนเกิดเป็นธุรกิจร่วมลงทุนที่มาในรูปแบบองค์กร เงินหนาลงหนัก ก็มีอยู่มากมาย ทว่า SME ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตัวเอง หรือต้องทำเรื่องกู้ผ่านธนาคารที่มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อ SME
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่มีไอเดียใหม่ๆ และอยากเข้าสู่วงการ Startup บ้าง ก็อาจเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าสิ่งที่ตัวเองสนใจอย่างจริงจัง แล้วลงมือทำ เพราะช่วงเริ่มต้นงบประมาณไม่ใช่สิ่งสำคัญ ก้าวแรกนั้นวัดกันที่ไอเดียและใจ บวกกับความอึด ที่ขอบอกเลยว่าต้องใช้เยอะเชียวแหละ…แต่ถ้าผ่านไปได้ รับรองว่าอนาคตสดใสอย่างแน่นอน!
http://tech.mthai.com/tips-technic/51936.html
อย่างถ้าเปิดร้านขายน้ำเต้าหู้อันนี้เป็น Startup ไหม?
ลองนึกภาพดู หากจะขยายทีเราต้องหาที่ใหม่ จ้างคนเพิ่ม หาวัตถุดิบ และเพิ่มกำลังการผลิต ถือว่าไม่สามารถขยายและทำซ้ำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จึงถือว่า ‘ร้านขายน้ำเต้าหู้’ ไม่ใช่ Startup แต่เป็น SME คือเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ลงทุนเอง และเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
ในทางกลับกัน หากเราสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นให้คนมาขายของ เมื่อเราทำเสร็จปุ๊บ คนเอาของมาลงขายเยอะ รายได้ที่เข้ามาก็เพิ่มมากขึ้นโดยเราไม่ต้องไปขยายอะไรตามมากมาย ยิ่งถ้าพิสูจน์แล้วว่ามันดี ทำเงินได้ ขยายไปเปิดต่างประเทศด้วยโมเดลเดิมก็ทำได้อีกเช่นกัน เรียกได้ว่าทั้งขยายและทำซ้ำได้ เราจึงเห็น Startup ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสายเทคโนโลยีซะเยอะ เพราะสามารถเติบโตได้ง่ายกว่าการทำธุรกิจประเภทอื่นๆ
หลายๆ Startup จำเป็นต้องมีผู้ใช้ที่เยอะในระดับนึงก่อนที่จะเริ่มหาเงิน หรือระดมทุนเพิ่มเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างนี้มีให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Youtube ต่างก็เคยเป็น Startup มาก่อน ตอนแรกใช้ฟรี หลังๆ ถึงเริ่มมีโฆษณามากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
ที่บอกว่า Facebook และ Youtube เคยเป็น Startup เพราะคำว่า Startup เป็นคำจำกัดความของการเริ่มธุรกิจในระยะเริ่มต้นเท่านั้นและยังไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน เรียกว่าระดับ Beginner นั่นเอง



วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

นามธรรม จัดการยาก

ชนชั้นกลาง (นิยาม  คือ จบ ป  ตรี) ชนชั้นหลักของประชาธิปไตย  และ การค้าเสรี  เชื่อว่า ชีวิตเขาจะเปลี่ยนถ้าเขาได้รับข้อมูล  หรือ ได้รับความรู้

การฝึกอบรมคือสินค้าและบริการอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตามการศึก Postgraduate ที่รัฐจัดให้ทุกคนไม่ได้ คือการผลิตซ้ำ. ความไม่เท่าเทียม ปริญญาโทขึ้นไป เป็นเพียงอาภรณ์ของคนมีเงิน ที่ไม่ได้มาพร้อมกับการพัฒนาคนเสมอไปในบริบทคนไทย