วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

about Rattanan Rodthong

Dr.Rattanan Rodthong was
born on 31st August 1970 in Samut Sakhon Province,Thailand. He graduated a Bachelor of Science (BSc.) from Chulachomklao Royal Military Academy, Nakhon-Nayok Province, Thailand in 1995. After that, he successfully received a Master of Public Administration in General Management (MPA) from Bura-pha University, Chonburi Province, Thailand in 2009 and Master of Science in Defense Analysis from Naval Postgraduate School, California, United States in 2009 also.
          Apart from that, he furthered his study and received the third postgraduate degree in a Master of Arts in Political and International Studies from University of New England, New South Wales, Australia in 2012. Last but not least, he graduated a Doctor of Philosophy (PhD) in Educational Administration from Chulalongkorn University in 2017. He is now a freelance lecturer and researcher in Bangkok, Thailand.

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Who is Rattanan Rodthonghttps://youtu.be/Qoxev3YFJeU?si=jQphbxW1pfld0ieE

Lecture Assignments
https://youtube.com/shorts/lxTQZ-uwgdI?si=ykI59iebddJ0-s-T
Rattanan Portfolio
https://youtube.com/shorts/aS5dB9PDkXk?si=w464_C2Nk4KdFNmj

Who is Rattanan Rodthong
https://youtu.be/Qoxev3YFJeU?si=jQphbxW1pfld0ieE

Short CV
https://youtube.com/shorts/4bAmyFZN8tg?si=rxydT_up2-hfaFPS

ประวัติย่อผู้วิจัย
อาจารย์ พันเอก ดร.รัฐนันท์ รถทอง
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 107 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยา
ศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก รุ่นที่ 42 ในปี 2538 ได้รับปริญญารัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารทั่วไป (Master of Public Administration in General
Managementจากมหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี ในปี 2552 และ Master of Science in Defense Analysis
จาก Naval Postgraduate School, Monterey, California, United States ในปี 2552

หลังจากนั้นได้รับ Master of Arts in Poltical and Intemational Studies จาn University of New
England, New South Wales, Australa ในปี 2555 นอกจากนี้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา (Doctor of Educaticnal Administration) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2560

ประสบการณ์การทำงานเคยเป็นอาจารย์ส่วนวิขาวิจัยและบริหาร วิทยาลัยการทัพบก ต่อมาเป็นอาจารย์สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ อาจารย์ประจำหลักสูตร
ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต(บริหารการศึ กษา), Master of Leadership Program in Educational
Administration, สำขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.กรุงเทพธนบุรี และ อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต(บริหารการศึกษา) ม.เวสเทีร์น 

e-mail: rattanan31@gmail.com
IdLine:drrat.107

บทความTCI (8เรื่อง_2567)
รัฐนันท์ รถทอง, ชัยวัฒน์ อุทัยแสน. (2567).แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1.วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และวิจัยทางการศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2567.(รอตีพิมพ์)
รัฐนันท์ รถทอง, ชัยวัฒน์ อุทัยแสน. (2566). ภาวะผู้นำนันทนาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ ปีที่ 11 (ม.ค.-ธ.ค.2566). (รอตีพิมพ์)***
รัฐนันท์ รถทอง. (2565). กรอบความคิดแบบพัฒนาได้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน.ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) 2565. หน้า 71-79.
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jhsmbuisc/article/view/260194/175749   
รัฐนันท์ รถทอง และ คณะ (2565). การศึกษาออนไลน์และการศึกษาแบบผสมผสาน. Journal of Roi Kaensarn Acadami, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม 2565. หน้า 417-429.
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/251650     
รัฐนันท์ รถทอง (2565). การเรียนรู้แบบไมโครและเทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565. หน้า 37-46.
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/257049  
 รัฐนันท์ รถทอง (2565). กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาออนไลน์ในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและวิจัย, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565. หน้า 65-76. 
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/253379     
รัฐนันท์ รถทอง และ คณะ (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต.Journal of Roi Kaensarn Acadami, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2564. หน้า 223-236.
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/251769  
รัฐนันท์ รถทอง และ คณะ (2564). กิจกรรมการเรียนโดยใช้หนังสั้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565. หน้า 73-78 http://research.rmu.ac.th/HUSOC.RMU/web/survey.php?journal_item_id=093f65e080a295f8076b1c5722a46aa2

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

2024

2024

Stat

Merry Christmas

#ไทยจมน้ำ


ไทยเรียนเยอะ

updated cv Rattanan Rodthong

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Gen Z

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความเชื่อและแนวคิดของคนในยุคสมัยนั้นๆ ก็เปลี่ยนตาม
.
ย้อนไป 20-30 ปีก่อน ยุคสมัยที่ Gen X เริ่มทำงานแรกๆ เราอาจคุ้นชินกับแพตเทิร์นชีวิต “เรียนจบ->หางานในบริษัทใหญ่ที่มั่นคง->ออมเงินเพื่อเกษียณวัย 60 ปี” สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้ชีวิตโดยการขยับขึ้นบันไดตำแหน่งการงานในบริษัท
.
แต่หากไปถามกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z (เกิดช่วงปี 1997 - 2012) แนวคิดนี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตของพวกเขาอีกต่อไป
.
จากรายงานแบบสำรวจ “2024 Trend Talk” ความคิดเห็นของชาว Gen Z ที่ Instagram ไปสำรวจมากว่า 5,000 คนจากประเทศ บราซิล, อินเดีย, เกาหลีใต้, อังกฤษ และ อเมริกา พบว่า 1/3 ของ Gen Z คิดว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับชีวิตตัวเองไม่ใช่การปีนบันไดตำแหน่งงานให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในบริษัทใหญ่ๆอีกต่อไป แต่คือการ ‘เป็นนายตัวเอง’ ต่างหาก
.
ทัศนคตินี้แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ อย่างชัดเจน ยุคสมัยที่คนจะทำงานอยู่กับบริษัทเดียวไปจนเกษียณอายุและเกษียณไปอยู่บ้านช่วงวัย 60 ปี กำลังจะเลือนหายไป ไม่ใช่เพราะว่าแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีหรือล้าสมัย เพียงแต่ปัจจัยรอบขตัวและความท้าทายในชีวิตของพวกเขาแตกต่างไปจากเมื่อก่อนซะมากกว่า
.
จบมหาวิทยาลัยแล้วเข้าไปสู่ตลาดแรงงานด้วยเงินเดือนค่าแรงขั้นต่ำ แค่มีเงินพอถึงสิ้นเดือนแบบไม่เป็นหนี้ก็ถือว่าเก่งมากๆ แล้ว บางคนมีหนี้กยศ. ติดตัว บางคนเป็นความหวังของครอบครัวต้องส่งเงินกลับบ้านไปเลี้ยงพ่อแม่พี่น้องรวมถึงหลานๆ อันนี้ยิ่งหนักเข้าไปอีก
.
ราคาบ้านในเมืองที่สูงจนแทบเอื้อมไม่ถึงสำหรับคนทั่วไป เงินเดือนก็ขึ้นทีละนิดแทบไม่ทันค่าครองชีพที่ขึ้นเหมือนติดจรวด อยากได้เงินเดือนเพิ่มหรือตำแหน่งที่ก้าวหน้าก็ต้องคอยสมัครงานใหม่ไปเรื่อยๆ 
.
กลุ่มพนักงานรุ่นใหม่จึงค่อนข้างเปราะบางต่อสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนกว่าคนรุ่นอื่นๆ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในระบบแบบเดิมๆ และทำให้เชื่อว่าการทำงานเป็นเจ้านายของตัวเองนั้นอาจจะนำไปสู่ผลลัพธ์ปลายทางที่มั่นคงมากกว่าการทำงานให้กับบริษัทเหมือนที่รุ่นก่อนๆ ทำ
.
นอกจากนั้นแล้วระบบที่ผ่านมาก็ไม่ใช่ว่าดีงามเสมอไป กลุ่มคน Gen Z เห็นมากับตาแล้วถึงความลำบากของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่หวังพึ่งระบบแต่สุดท้ายต้องมาตกงานและมีชีวิตที่ยากลำบาก มาร์ซี่ เมอร์ริแมน (Marcie Merriman) ผู้นำด้านกลยุทธ์ลูกค้าและข้อมูลเชิงลึกทางวัฒนธรรมของบริษัท EY (เอินส์ทแอนด์ยัง) หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกบอกกับนิตยสาร Fortune ว่า
.
“อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่พวกเขาเห็นคือการที่องค์กรตัดพนักงาน เลือกเส้นทางที่คงกำไรของตัวเองแบบไม่ลังเล พวกเขาเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับพ่อแม่ เกิดขึ้นกับคนยุคมิลเลนเนียล และช่วงสองสามปีที่ผ่านก็เจอกับตัวเองด้วย”
.
ศรัทธาที่มีต่อบริษัทกำลังเลือนหายไป ฉากหลังที่เศรษฐกิจลุ่มๆดอนๆ ความไม่แน่นอนทางการเมืองทั้งในประเทศเองหรือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศมหาอำนาจ สิ่งเหล่านี้ทำให้กลุ่มพนักงาน Gen Z รู้สึกว่าปัญหาและโจทย์ของชีวิตพวกเขาแตกต่างไปจากรุ่นก่อนๆ อย่างชัดเจน หลายคนมองว่าการเกษียณอาจจะเป็นเรื่องที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับพวกเขาซะด้วยซ้ำ
.
ช่วงไม่กี่เดือนก่อนมีวิดีโอไวรัลอันหนึ่งที่พนักงาน Gen Z ออกมาบอกว่าตกใจกับตารางการทำงานแบบ ‘9 โมงเช้า - 5 โมงเย็น’ มากๆ ทำงานแบบนี้เรียกว่าไม่มีเวลาเป็นของตัวเองเลย ซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการคือความยืดหยุ่นที่มากกว่านี้ (แต่ก็มีกระแสต้านเช่นกันว่าควรต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบ)
.
ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ดูเหมือนว่า Gen Z ที่ออกจากรั้วมหาวิทยาลัยและกำลังเริ่มเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคต่อไปก็รู้สึกว่าระบบเดิมมันอาจจะไม่เหมาะสมแล้ว 
.
แบบสำรวจในปี 2021 จากบริษัทด้านการดูแลสุขภาพและประกันภัยข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน Cigna บอกว่า 98% ของคนที่อายุ 18-24 กว่า 98% เคยมีประสบการณ์เบิร์นเอาต์จากการทำงานมาก่อน รู้สึกเครียดอยู่บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย กว่าครึ่งหนึ่งบอกว่าต้องทำงานเสริมเพื่อหาเงินมาเติม (ขับรถส่งอาหาร ขายของออนไลน์ ฯลฯ) แต่ถึงอย่างนั้นก็แทบจะไม่พออยู่ดี และแบบสอบถามจากแพลตฟอร์มรวบรวมงานฟรีแลนซ์ Fiverr ก็พบว่ากว่า 67% ของขาว Gen Z มองว่าการทำอาชีพฟรีแลนซ์อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่างานประจำทั่วไป
.
เราจะเห็นงานใหม่ๆ ที่ผุดขึ้นมาอย่างการเป็นนายหน้า TikTok ขายของออนไลน์ ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ สายนั้นสายนี้ หลายคนก็ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ 
.
ในวันที่จำนวนคนติดตามคือสกุลเงินแห่งโลกโซเชียล มันคือยุคที่โอกาสเปิดกว้าง แทบทุกคนสามารถเข้าถึงเครื่องมือ ความรู้ และเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง แต่การจะไปถึงจุดที่สร้างเนื้อสร้างตัวได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าแม้เทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มจะเหมือนกัน แต่ทุกคนไม่ได้เริ่มจากจุดเดียวกัน (เงิน, คนรู้จัก, หรือแม้แต่รูปร่างหน้าตา)
.
ไม่ว่าจะเป็นทำงานเสริม ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ เป็นอินฟลูฯ หรือทำธุรกิจส่วนตัว ดูแล้วเหมือนว่ายุคสมัยแห่งการพึ่งพาบริษัทและองค์กรใหญ่ๆ กำลังเกิดขึ้นแล้ว จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นพ่อแม่ (และบางคนก็เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง) ว่าการเลือกทำงานในบริษัทที่คิดว่ามั่นคงปลอดภัยก็ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด สามารถตกงานได้ง่ายๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจโงนเงน บางทีการพึ่งพาตัวเองอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าก็ได้
.
เหมือนอย่างปาฐกถาปี 2014 ที่ Maharishi University of Management ที่ จิม แคร์รีย์ (Jim Carrey) กล่าวว่า
.
“พ่อของผมสามารถเป็นนักแสดงตลกเก่งๆ ได้เลยนะ แต่เขาไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้สำหรับเขา เขาจึงตัดสินใจเลือกทางที่ระมัดระวัง เขาเลือกงานที่ปลอดภัยอย่างนักบัญชีและตอนผมอายุ 12 เขาก็ถูกปลดออกจากงาน และครอบครัวของเราก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอด”
.
บทเรียนที่เขาเขียนเรียนรู้ตอนนั้นคือ
.
“[ในเมื่อ] ทำสิ่งที่ไม่ชอบก็ยังล้มเหลวได้ ถ้าแบบนั้นไม่ลองเสี่ยงทำในสิ่งที่คุณรักดูละ”
.
- โสภณ ศุภมั่งมี (บรรณาธิการ #aomMONEY)
,
#aomMONEY #บทบรรณาธิการ #การเงินส่วนบุคคล #การเงิน #GenZ #Freelance #คนทำงาน #นายตัวเอง #งานคนรุ่นใหม่ #ทัศนคติ #แนวคิด
.
[อ้างอิงในคอมเมนต์]

#อาจเซ่อที่อยากได้ใบเซอร์

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Play and Learn

💃การเรียนรู้ผ่านการเล่น เป็นสิ่งที่ดี แต่จะจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบ “เพลิน” อย่างไร ? เพราะถ้าเรียน (learn) อย่างเดียวก็เกิดความเบื่อ  เล่น (play) อย่างเดียวก็จะเป็นการไร้สาระจนเกินไป
.
Play And Learn = Plearn สามารถแยกเป็นข้อๆได้ดังนี้ Play คือ1.การเล่นตามวิถีชีวิต 2.การเล่นของเด็กไทย 3.การเล่นเกม รวมไปถึงการร้อง การเต้น และการแสดง ส่วน Learn คือการบูรณาการข้ามสาระข้ามวิชา และข้ามเนื้อหาวิชาต่างๆที่ต้องการสอนนั่นคือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมถึงทักษะวิชาการและทักษะชีวิตไปด้วยนั่นเอง
.
👉🏻มาเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสอน ด้วยการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ Play+ Learn = Plearn การจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น
https://bit.ly/49SG36g
.
การจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่น ถือเป็นนวัตกรรม Plearn บางคนอาจจะเรียกว่าเรียนปนเล่น หรือ เล่นปนเรียน นั่นคือการเอาคำว่า Play+Learn = Plearn การจัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นนั่นเอง

#เทคนิคการสอน #บูรณาการ #ActiveLearning

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566

มหาวิทยาลัยกำลังจะตาย

เด็กเกิดน้อย วัยเรียนลดลง ปริญญาถูกลดความสำคัญ! หรือมหาวิทยาลัยจะไปไม่รอด? วัยรุ่นสหรัฐมองปริญญาให้หลักประกันทางการเงินไม่ได้ ด้านประเทศไทยผลกระทบเป็น “งูกินหาง” ตายมากกว่าเกิด เด็กเข้าเรียนลดลง สะเทือนมหาวิทยาลัย “อาจารย์” ส่อกลายเป็นอาชีพไม่มั่นคง
.
“ปริญญา” สำคัญแค่ไหน? 10 ปีที่แล้วเราคงตอบคำถามนี้ได้ทันทีว่า การเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเป็นใบเบิกทางสำคัญต่ออาชีพการงานในอนาคต โดยเฉพาะค่าตอบแทนสำหรับคนหนุ่มสาววุฒิปริญญาตรีที่กลายเป็นแรงจูงใจให้พ่อแม่ผู้ปกครองผลักดันลูกหลานเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจนจบการศึกษาได้สำเร็จเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “White-collar worker” หรือ “คนงานคอปกขาว” ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยยิ่งทำให้เห็นชัดมากขึ้นว่า คนทำงานออฟฟิศวุฒิปริญญาตรีมีเปอร์เซ็นต์ “ตกงาน” น้อยกว่า “Blue-collar worker” หรือ “คนงานคอปกน้ำเงิน” ที่ใช้กำลังแรงกายในการทำงานเป็นหลัก
.
แต่เหตุผลและคำอธิบายทั้งหมดที่ว่ามาคงใช้ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันอีกแล้ว เมื่อเราพบข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักข่าว “เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส” (The New York Times) ที่มีการระบุถึงผลสำรวจความรู้สึกของชาวอเมริกันที่มีต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ คนหนุ่มสาวที่มองว่า วุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยสำคัญลดลงจาก 71% ในปี 2009 เหลือเพียง 41% ในปี 2023 
.
ทั้งยังพบว่า เด็ก “เจน Z” กว่า 45% มองว่า เพียงวุฒิระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็สามารถเป็นหลักประกันความมั่นคงทางการเงินให้กับพวกเขาได้แล้ว
.
ภาพความเปลี่ยนแปลงในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้เกิดแค่ในสังคมอเมริกันเท่านั้น แต่ยังพบอีกว่า ประเด็นว่าด้วยเรื่องอนาคตของมหาวิทยาลัยไทยมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือจำนวนนักศึกษาหดตัวลง อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ อนาคตอันใกล้อาจกลายเป็นอาชีพที่อยู่บนความไม่มั่นคงเหมือนกับอาจารย์มหาวิทยาลัยยุคก่อนๆ อีกแล้ว
.
แหล่งข่าวอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังให้ข้อมูลกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สังกัดขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงยังไม่น่าเป็นกังวลนัก แต่สำหรับมหาวิทยาลัยขนาดกลางและขนาดเล็กอาจต้องพบเจอกับสถานการณ์ไม่สู้ดีเท่าไร มหาวิทยาลัยเอกชนอาจมีการปรับตัวด้วยการลดจำนวนบุคลากรลง หรืออย่างที่เราเห็นกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ว่า บางมหาวิทยาลัยตัดสินใจปิดบางคณะลง เนื่องจากจำนวนนักศึกษาน้อยกว่ากำหนดและไม่ได้รับควานนิยมเท่าแต่ก่อน
.
นอกจากนี้ อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยถูกมองว่า เป็นอาชีพที่มั่นคงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว เพราะหลังจากมีการปฏิรูประบบการจ้างงานในมหาวิทยาลัยสถานะของอาจารย์ก็ถูกลดทอนลงจาก “ข้าราชการ” เป็น “พนักงานมหาวิทยาลัย” สวัสดิการที่เคยได้รับก็ไม่เหมือนกัน สถานะข้าราชการเป็นการจ้างงานถึงอายุ 60 ปี แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยยุคนี้มีเงื่อนไขแตกต่างกันอาจต่อสัญญากันทุก 5 ปี 10 ปี หรือแย่ไปกว่านั้นคือต่อสัญญากันแบบ “ปีต่อปี” ก็มีให้เห็นแล้ว
.
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/health/education/1101063?anm=
.
.
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจBusiness

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

HR Trends

เทรนด์ของคนทำงานปี 2024 
Workforce ในรุ่นถัดไปคือ คนที่ตั้งคำถาม ไม่ใช่มนุษย์ท่องจำอีกต่อไป
จากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 
.
“คน” คือทรัพยากรสำคัญที่สุด แต่ถ้าหากวันหนึ่งคนไม่สามารถ Implementation หรือไม่สามารถทำงานที่เป็นงานปกติได้ อันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเทรนด์ใหม่ ๆ สิ่งที่ส่งผลหนักใหญ่หลวงคือองค์กรที่ขาดประสิทธิภาพในการยกระดับพนักงาน ยกระดับ Workforce ของตัวเอง แล้วอะไรคือโอกาสที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป โจทย์ของ Workforce คืออะไร ? มันจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร ?
.
วันนี้เรามาสรุปหัวข้อเทรนด์สำคัญในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 กับหัวข้อ Closing the Skills Gap for Future Ready Workforce ทรานส์ฟอร์มงานและทักษะคนไทยในโลกใหม่ ผ่านมุมมองของทั้ง 3 บุคลากรชั้นยอดระดับประเทศ ดร. สันติธาร เสถียรไทย, ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร และ ดร.การดี เลียวไพโรจน์
.
.
🌎 MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ กล่าวถึง คนส่วนใหญ่ชอบยึดติดกับการเรียนจบสูง ๆ แต่วิธีคิดนี้ผิด! สิ่งที่สำคัญกว่าการเรียนจบสูง คือการเรียนบ่อย ๆ เรียนอย่างหลากหลายให้ลึกอย่างต่ำ 2 เรื่องขึ้นไป จะทำให้เรารอดในทุกยุคสมัย และนี่คือภาพรวมของ MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น…..
.
👉 เรากำลังอยู่ในภาวะการแข่งขันทั่วโลก 
ภายในปี 2030 เราจะขาดแคลนบุคคล talent หรือผู้มีความสามารถมากถึง 18 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้กว่า 8.45 ล้านล้านดอลลาร์ 
.
👉 คนของออกจากงานมากขึ้นหากไม่ตรงกับเป้าหมาย 
55% ของกลุ่ม GenZ และ 48% ของกลุ่ม GenY มองเห็นว่าหากงานที่ทำไม่ได้ตอบโจทย์กับเป้าหมาย ส่วนใหญ่เลือกที่จะออกมาจาก และคนยุคใหม่ต้องการทำงานแบบ Hybrid everything รวมถึงคำนึงถึง Diversity เรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน
.
👉 ทักษะ Cognitive Skills จะสร้างมูลค่าได้ 
Cognitive Skills คือความสามารถในการเข้าใจความคิดที่ซับซ้อน และนำมาประยุกต์ใช้ได้ โดย 85% ของผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนส่วนบุคคล และผลประโยชน์ แต่มีเพียง 42% ของพนักงานเท่านั้นที่นำไปใช้ ดังนั้นจึงเกิดการแย่งคนในมิติของ talent เก่ง ๆ มากขึ้น รวมถึงอาชีพเกิดใหม่ อาชีพแบบเดิม กระบวนการทำงานแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งจะมีความจำเป็นในปี 2030
.
👉 เรื่องของ Green Focused จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ความต้องการของคนที่มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมีอัตราเพิ่มขึ้น 38.5% แต่กลับกันในช่วง 2015 - 2021 มีเพียง 13% เท่านั้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับ green talent จะมีความจำเป็นมากขึ้น
.
👉 Essential Skills คือการคิดแบบมนุษย์ จะมีความจำเป็นมากขึ้น 
รวมไปถึง Creative thinking, Analytical thinking, Technological literacy ติดท็อป 3 ทักษะที่จะมีความสำคัญอย่างมากในอนาคต
.
.
🌎 FUTURE SCENARIOS 
สถานการณ์ในอนาคตอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?
.
ประเด็นที่ 1
CORPORATIONS OF GIG (องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย GIG)
👉 องค์กรที่ยังบริหารแบบเดิม ๆ recruit ก็ช้า, ไอนั่นก็แพงไม่กล้า กลัว องค์กรแบบนี้จะไม่รอด
👉 องค์กรที่ปรับตัวด้วยการใช้ฟรีแลนซ์จะเพิ่มมากขึ้น 
.
ประเด็นที่ 2
THE ARTISAN RENAISSANCE (ยุคทองของช่างศิลป์) 
👉 บทบาทนี้มาจาก AI เหตุเพราะ AI ดูดีเกินไป เก่งเกินไป ดังนั้นงานช่างศิลป์ในเชิง Creative Economy ประกอบกับ Digital Economy จะมีจุดร่วมกันอย่างมากขึ้น 
👉ประกอบกับ Gen รุ่นเก๋า และ Gen รุ่นใหม่ก็จะสร้างอาชีพจากเทคโนโลยีด้วยความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
.
ประเด็นที่ 3
SYNERGY IN SYNC (งานข้ามโลกไร้รอยต่อ)
👉 บางครั้งเราอาจจะนึกถึงคนที่อยู่ต่างแดน ต่างประเทศ แต่อยากให้ทุกคนมองกลับมาที่ประเทศเรา เพราะเรื่องนี้คือการทำงานของ ‘คนที่อยู่ต่างที่ ต่าง Timezone’ ไปจนถึงการทำงานกับเครื่องจักรอย่างไร้รอยต่อ การมี Co-pilot ก็จะกลายเป็นทักษะปกติ เหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เวลาเราสมัครงานใช้ word, excel, powerpoint เป็นนั่นเอง 
.
ประเด็นที่ 4
BEYOND REALITY (ทุกอย่างจะเริ่มเหนือความเป็นจริง)
👉 ถึงมีข้อจำกัดแต่ก็ยังมีการเติบโตในด้านโลกเสมือน แต่ในอนาคตอันใกล้องค์กรจะใช้เทคโนโลยี Extended Reality โลกเสมือนเหล่านี้จะขับเคลื่อนองค์กรมากยิ่งขึ้น
.
ประเด็นที่ 5
TRANSFORMATIVE RESILIENCE (การทำงานแบบยืดหยุ่น)
👉 การทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อยืนหยัดให้ได้ โดยมาจากแนวคิด Jobs Hopper มาสู่ Career Hopper ในยุคข้างหน้าคนจะเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เปลี่ยนงานตามตำแหน่ง หรือพยายามทำเพื่อเงินเดือนเพียงอย่างเดียว 
.
.
🌎 FOCUS ON UPSKILLING, RESKILLING AND SHIFTING LEADERSHIP STYLE
เช็กลิสต์ 8 อย่างข้อห้ามที่ควรเลิก! ถ้าไม่อยากให้องค์กรเจ็บตัว 
.
1. Hierarchy and Command-and-control Leadership
องค์กรบ้านเรายิ่งใหญ่ ยิ่งมีชนชั้นวรรณะมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงปัญหาใหม่ไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป หรือมองว่าเทคโนโลยีน่ากลัวต้องเลิกได้แล้ว ต้องเลิกคิดแบบนี้โดยด่วน
.
2. Over reliance on past Experience
การใช้ประสบการณ์ในอดีตมาครอบงำควรหยุด! สิ่งที่สำคัญกว่านั้นมาก ๆ คือคุณต้อง Upskill & Reskill อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะความรู้มันเก่าไว
.
3. Micromanagement
การจัดการแบบคนจู้จี้จุกจิกไม่ควรมีอีกต่อไป ซึ่งเป็นสัญญาณบั่นทอนทำลายบรรยากาศในการทำงาน
.
4. Traditional Communication 
การสื่อสารแบบดั้งเดิม เน้นฟังผู้บริหารเป็นหลัก ซึ่งในโลกข้างหน้าที่จะเกิดขึ้นคุณต้องฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่ ฟังเยอะ ๆ แล้วเกิดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้เป็น
.
5. Resistance to New Technology
มนุษย์ต้าน พอเห็นเทคโนโลยีก็วิ่งหนี เรื่องนี้เราหนีไม่พ้นแน่นอน เทคโนโลยีจะมีบทบาทกับโลกธุรกิจอย่างแน่นอน เตรียมรับมือให้พร้อมศึกษาให้ดี
.
6.Inflexible Work Practice 
ความยืดหยุ่นสำคัญกับงานในโลกอนาคตมาก ต้องห้ามเป็นคนมีอคติ และมองปัญหาเป็นปัญหา แต่คนในยุคต่อไปจะมองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ
.
7. Silo & Departmental Thinking 
รูปแบบการทำงานที่แต่ละหน่วยงานมุ่งทำแต่งานในส่วนของตัวเอง สิ่งนี้จะไม่เจริญอีกต่อไป งานที่ดีควรมีความคิดเห็นจากทั้งองค์กร ทุกคนร่วมมือช่วยกันจะไปได้ไวกว่า และดีกว่า
.
8. Resistance of Diversity & Inclusion
งานในโลกอนาคตเราต้องหาคนมีความหลากหลาย ที่ไม่ใช่คนแบบเดียวกัน เราไม่ควรรับคนทำงานที่มีความเหมือนกันมากจนเกินไปในองค์กร ควรหาคนทำงานหลายรูปแบบมากขึ้น เก่งคนละทาง ไม่ใช่เก่งแค่อย่างเดียว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
.
ทางด้าน ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร ได้พูดถึงในอดีตเราฝึกให้นักเรียนหาคำตอบ แต่ปัจจุบันมันเกิดจากการตั้งคำถาม ในอดีตเราถูกปลูกฝังว่าต้องเรียนสายวิทย์ สายศิลป์ แต่ในต่างประเทศเป็นวิธีคิดที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ในต่างประเทศเลิกใช้หมดแล้ว เพราะปัจจุบันการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสำคัญมากขึ้น เราสามารถเรียนได้ทั้งวิทย์ และเรียนภาษาได้พร้อมกัน หากยังคงเป็นแบบเดิม Innovation หรือนวัตกรรมจะไม่เกิด  
.
ในภาพการศึกษาในยุค Education 3.0 (คือการเสี่ยงเซียมซี) แต่ในยุคปัจจุบันอันใกล้คือ Education 4.0 (เรียนแบบตัว T) คือเน้นเรียนลึกเรื่องที่ถนัดมากถึง 2 เรื่อง (ใครถนัดเรื่องเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป) และ Multidisciplinary (เรียนกว้าง), Flexible (มีความยืดหยุ่น), Lifelong learning (เรียนได้ตลอดชีวิตไม่มีคำว่าแก่ก่อนเรียน หรือเรียนก่อนแก่อีกต่อไป) 
.
.
🌎 เด็กและผู้ใหญ่ต้องมี 4 types of intelligence
👉 IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางสติปัญญา 
👉 EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์
👉 AQ (adaptability Quotient) ความสามารถปรับตัว
👉 SQ (Social Quotient) ความสามารถเข้าสังคม
.
ด้าน ดร.สันติธาร เสถียรไทย กล่าวถึงเราเจอปัญหาคนขาดคน แต่จริง ๆ แล้วคือ ‘คนขาดงาน’ 
.
🤔 คนขาดงานในที่นี้หมายถึง Underemployment 
คือคนไม่ได้ทำงานจากสิ่งที่เรียนตรงสาย จบมาตรงสาย ทำสิ่งที่ตัวเองถนัด แน่นอนว่าหากข้ามสายรายได้จึงน้อย และจะไม่เกิด Productivity ในที่สุด โดยยุค AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง ในยุคของ Generative AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ใครเรียนอะไรมาจะถูก Disruption ได้เช่นกัน คนที่ไม่ปรับตัว คิดว่าตัวเองเก่ง ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่อัปสกิลใหม่ ๆ จะมีโอกาสถูกเทคโนโลยีแทนที่ในที่สุด
.
.
🌎 สิงคโปร์คือประเทศตัวอย่าง
สิงคโปร์ เป็นประเทศที่น่าสนใจ มีการตื่นตัว ความพร้อมอย่าง ‘Future Ready’ คือการพัฒนาคนในประเทศ เขามี Movement อย่าง Skill Future เพื่อสร้างการตื่นตัวว่าพวกคุณกำลังตกยุคแล้วนะ ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน แต่ของใหม่มาก็ต้องรีบเรียนรู้ให้ทันโลก เพราะความรู้ที่คุณมีมันไม่พอ แม้ประเทศเขาจะเก่งกาจมากเพียงใด แต่ความรู้มันเก่าไว มันต้องเติมอย่างต่อเนื่อง
.
.
🌎 ทักษะที่สำคัญความท้าทายในยุคต่อไป คือ Empathy เป็นเส้นที่จะเชื่อมทั้งหมด 
1. ทักษะ Design
เราต้องรู้จักการดีไซน์ เราอาจจะเข้าใจคำนี้ผิดไปก็ได้ บางคนอาจจะมองว่าความสวยงาม แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ แต่มันคือการนำวิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกไม่ใช่เม็ดสุดท้าย ลองนึกภาพทำไมโปรดักต์ไอโฟนถึงลงตัว มันคือการดีไซน์ที่เข้าใจลูกค้า มันใช้ digital บางอย่างทำให้คนรัก ในยุคที่เราอยู่กับเทคโนโลยีคุณต้องดีไซน์ระบบทั้งหมด 
.
2. การทำงานกับคนต่างวัย
เพราะคนรุ่นผู้ใหญ่จะอยู่นานขึ้นเรื่อย ๆ เป็น Active aging คนรุ่นใหม่ขึ้นมาเร็วขึ้น มันจะมีการถกเถียงกันแน่นอน โลกต่อไปเราต้องมีความรู้ทันโลก และรู้จักโลก คนรุ่นผู้ใหญ่ได้เปรียบในการอ่านเกมทันโลก รู้เรื่องธุรกิจลึกซึ้งในบางเรื่องมากกว่า แต่ก็มีจุดอ่อนด้านไม่ค่อยทันโลก ในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ทันโลก มี Adaptability หรือการปรับตัวค่อนข้างสูง องค์กรต้องมีทั้ง 2 กลุ่มอยู่ด้วยกัน
.
3. รู้จักทำงานกับ Global Workforce
ประเทศเราขาดคนเก่ง ขาด talent เราทำงานกับคนต่างประเทศได้ไหม แต่ในทางกลับกันคนไทยไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะรายได้ในประเทศขึ้นไม่เร็ว มีเรื่องของ talentwar สงครามการแย่งตัวกันของบริษัทยักษ์ใหญ่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญของเราในยุคนี้คือต้องสร้างทักษะใหม่ เพื่อให้ทันต่อโลก
.
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
.
#CREATIVETALK #TheStandardEconomicForum2023