วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

HR Trends

เทรนด์ของคนทำงานปี 2024 
Workforce ในรุ่นถัดไปคือ คนที่ตั้งคำถาม ไม่ใช่มนุษย์ท่องจำอีกต่อไป
จากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 
.
“คน” คือทรัพยากรสำคัญที่สุด แต่ถ้าหากวันหนึ่งคนไม่สามารถ Implementation หรือไม่สามารถทำงานที่เป็นงานปกติได้ อันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเทรนด์ใหม่ ๆ สิ่งที่ส่งผลหนักใหญ่หลวงคือองค์กรที่ขาดประสิทธิภาพในการยกระดับพนักงาน ยกระดับ Workforce ของตัวเอง แล้วอะไรคือโอกาสที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไป โจทย์ของ Workforce คืออะไร ? มันจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร ?
.
วันนี้เรามาสรุปหัวข้อเทรนด์สำคัญในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 กับหัวข้อ Closing the Skills Gap for Future Ready Workforce ทรานส์ฟอร์มงานและทักษะคนไทยในโลกใหม่ ผ่านมุมมองของทั้ง 3 บุคลากรชั้นยอดระดับประเทศ ดร. สันติธาร เสถียรไทย, ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร และ ดร.การดี เลียวไพโรจน์
.
.
🌎 MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ กล่าวถึง คนส่วนใหญ่ชอบยึดติดกับการเรียนจบสูง ๆ แต่วิธีคิดนี้ผิด! สิ่งที่สำคัญกว่าการเรียนจบสูง คือการเรียนบ่อย ๆ เรียนอย่างหลากหลายให้ลึกอย่างต่ำ 2 เรื่องขึ้นไป จะทำให้เรารอดในทุกยุคสมัย และนี่คือภาพรวมของ MEGA TREND ที่จะเกิดขึ้น…..
.
👉 เรากำลังอยู่ในภาวะการแข่งขันทั่วโลก 
ภายในปี 2030 เราจะขาดแคลนบุคคล talent หรือผู้มีความสามารถมากถึง 18 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้กว่า 8.45 ล้านล้านดอลลาร์ 
.
👉 คนของออกจากงานมากขึ้นหากไม่ตรงกับเป้าหมาย 
55% ของกลุ่ม GenZ และ 48% ของกลุ่ม GenY มองเห็นว่าหากงานที่ทำไม่ได้ตอบโจทย์กับเป้าหมาย ส่วนใหญ่เลือกที่จะออกมาจาก และคนยุคใหม่ต้องการทำงานแบบ Hybrid everything รวมถึงคำนึงถึง Diversity เรื่องเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน
.
👉 ทักษะ Cognitive Skills จะสร้างมูลค่าได้ 
Cognitive Skills คือความสามารถในการเข้าใจความคิดที่ซับซ้อน และนำมาประยุกต์ใช้ได้ โดย 85% ของผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนส่วนบุคคล และผลประโยชน์ แต่มีเพียง 42% ของพนักงานเท่านั้นที่นำไปใช้ ดังนั้นจึงเกิดการแย่งคนในมิติของ talent เก่ง ๆ มากขึ้น รวมถึงอาชีพเกิดใหม่ อาชีพแบบเดิม กระบวนการทำงานแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งจะมีความจำเป็นในปี 2030
.
👉 เรื่องของ Green Focused จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
ความต้องการของคนที่มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมีอัตราเพิ่มขึ้น 38.5% แต่กลับกันในช่วง 2015 - 2021 มีเพียง 13% เท่านั้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับ green talent จะมีความจำเป็นมากขึ้น
.
👉 Essential Skills คือการคิดแบบมนุษย์ จะมีความจำเป็นมากขึ้น 
รวมไปถึง Creative thinking, Analytical thinking, Technological literacy ติดท็อป 3 ทักษะที่จะมีความสำคัญอย่างมากในอนาคต
.
.
🌎 FUTURE SCENARIOS 
สถานการณ์ในอนาคตอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ?
.
ประเด็นที่ 1
CORPORATIONS OF GIG (องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย GIG)
👉 องค์กรที่ยังบริหารแบบเดิม ๆ recruit ก็ช้า, ไอนั่นก็แพงไม่กล้า กลัว องค์กรแบบนี้จะไม่รอด
👉 องค์กรที่ปรับตัวด้วยการใช้ฟรีแลนซ์จะเพิ่มมากขึ้น 
.
ประเด็นที่ 2
THE ARTISAN RENAISSANCE (ยุคทองของช่างศิลป์) 
👉 บทบาทนี้มาจาก AI เหตุเพราะ AI ดูดีเกินไป เก่งเกินไป ดังนั้นงานช่างศิลป์ในเชิง Creative Economy ประกอบกับ Digital Economy จะมีจุดร่วมกันอย่างมากขึ้น 
👉ประกอบกับ Gen รุ่นเก๋า และ Gen รุ่นใหม่ก็จะสร้างอาชีพจากเทคโนโลยีด้วยความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
.
ประเด็นที่ 3
SYNERGY IN SYNC (งานข้ามโลกไร้รอยต่อ)
👉 บางครั้งเราอาจจะนึกถึงคนที่อยู่ต่างแดน ต่างประเทศ แต่อยากให้ทุกคนมองกลับมาที่ประเทศเรา เพราะเรื่องนี้คือการทำงานของ ‘คนที่อยู่ต่างที่ ต่าง Timezone’ ไปจนถึงการทำงานกับเครื่องจักรอย่างไร้รอยต่อ การมี Co-pilot ก็จะกลายเป็นทักษะปกติ เหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เวลาเราสมัครงานใช้ word, excel, powerpoint เป็นนั่นเอง 
.
ประเด็นที่ 4
BEYOND REALITY (ทุกอย่างจะเริ่มเหนือความเป็นจริง)
👉 ถึงมีข้อจำกัดแต่ก็ยังมีการเติบโตในด้านโลกเสมือน แต่ในอนาคตอันใกล้องค์กรจะใช้เทคโนโลยี Extended Reality โลกเสมือนเหล่านี้จะขับเคลื่อนองค์กรมากยิ่งขึ้น
.
ประเด็นที่ 5
TRANSFORMATIVE RESILIENCE (การทำงานแบบยืดหยุ่น)
👉 การทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อยืนหยัดให้ได้ โดยมาจากแนวคิด Jobs Hopper มาสู่ Career Hopper ในยุคข้างหน้าคนจะเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เปลี่ยนงานตามตำแหน่ง หรือพยายามทำเพื่อเงินเดือนเพียงอย่างเดียว 
.
.
🌎 FOCUS ON UPSKILLING, RESKILLING AND SHIFTING LEADERSHIP STYLE
เช็กลิสต์ 8 อย่างข้อห้ามที่ควรเลิก! ถ้าไม่อยากให้องค์กรเจ็บตัว 
.
1. Hierarchy and Command-and-control Leadership
องค์กรบ้านเรายิ่งใหญ่ ยิ่งมีชนชั้นวรรณะมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงปัญหาใหม่ไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป หรือมองว่าเทคโนโลยีน่ากลัวต้องเลิกได้แล้ว ต้องเลิกคิดแบบนี้โดยด่วน
.
2. Over reliance on past Experience
การใช้ประสบการณ์ในอดีตมาครอบงำควรหยุด! สิ่งที่สำคัญกว่านั้นมาก ๆ คือคุณต้อง Upskill & Reskill อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะความรู้มันเก่าไว
.
3. Micromanagement
การจัดการแบบคนจู้จี้จุกจิกไม่ควรมีอีกต่อไป ซึ่งเป็นสัญญาณบั่นทอนทำลายบรรยากาศในการทำงาน
.
4. Traditional Communication 
การสื่อสารแบบดั้งเดิม เน้นฟังผู้บริหารเป็นหลัก ซึ่งในโลกข้างหน้าที่จะเกิดขึ้นคุณต้องฟังความคิดเห็นคนรุ่นใหม่ ฟังเยอะ ๆ แล้วเกิดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้เป็น
.
5. Resistance to New Technology
มนุษย์ต้าน พอเห็นเทคโนโลยีก็วิ่งหนี เรื่องนี้เราหนีไม่พ้นแน่นอน เทคโนโลยีจะมีบทบาทกับโลกธุรกิจอย่างแน่นอน เตรียมรับมือให้พร้อมศึกษาให้ดี
.
6.Inflexible Work Practice 
ความยืดหยุ่นสำคัญกับงานในโลกอนาคตมาก ต้องห้ามเป็นคนมีอคติ และมองปัญหาเป็นปัญหา แต่คนในยุคต่อไปจะมองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ
.
7. Silo & Departmental Thinking 
รูปแบบการทำงานที่แต่ละหน่วยงานมุ่งทำแต่งานในส่วนของตัวเอง สิ่งนี้จะไม่เจริญอีกต่อไป งานที่ดีควรมีความคิดเห็นจากทั้งองค์กร ทุกคนร่วมมือช่วยกันจะไปได้ไวกว่า และดีกว่า
.
8. Resistance of Diversity & Inclusion
งานในโลกอนาคตเราต้องหาคนมีความหลากหลาย ที่ไม่ใช่คนแบบเดียวกัน เราไม่ควรรับคนทำงานที่มีความเหมือนกันมากจนเกินไปในองค์กร ควรหาคนทำงานหลายรูปแบบมากขึ้น เก่งคนละทาง ไม่ใช่เก่งแค่อย่างเดียว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
.
ทางด้าน ดร. ไพลินทร์ ชูโชติถาวร ได้พูดถึงในอดีตเราฝึกให้นักเรียนหาคำตอบ แต่ปัจจุบันมันเกิดจากการตั้งคำถาม ในอดีตเราถูกปลูกฝังว่าต้องเรียนสายวิทย์ สายศิลป์ แต่ในต่างประเทศเป็นวิธีคิดที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ในต่างประเทศเลิกใช้หมดแล้ว เพราะปัจจุบันการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นสำคัญมากขึ้น เราสามารถเรียนได้ทั้งวิทย์ และเรียนภาษาได้พร้อมกัน หากยังคงเป็นแบบเดิม Innovation หรือนวัตกรรมจะไม่เกิด  
.
ในภาพการศึกษาในยุค Education 3.0 (คือการเสี่ยงเซียมซี) แต่ในยุคปัจจุบันอันใกล้คือ Education 4.0 (เรียนแบบตัว T) คือเน้นเรียนลึกเรื่องที่ถนัดมากถึง 2 เรื่อง (ใครถนัดเรื่องเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป) และ Multidisciplinary (เรียนกว้าง), Flexible (มีความยืดหยุ่น), Lifelong learning (เรียนได้ตลอดชีวิตไม่มีคำว่าแก่ก่อนเรียน หรือเรียนก่อนแก่อีกต่อไป) 
.
.
🌎 เด็กและผู้ใหญ่ต้องมี 4 types of intelligence
👉 IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางสติปัญญา 
👉 EQ (Emotional Quotient) ความฉลาดทางอารมณ์
👉 AQ (adaptability Quotient) ความสามารถปรับตัว
👉 SQ (Social Quotient) ความสามารถเข้าสังคม
.
ด้าน ดร.สันติธาร เสถียรไทย กล่าวถึงเราเจอปัญหาคนขาดคน แต่จริง ๆ แล้วคือ ‘คนขาดงาน’ 
.
🤔 คนขาดงานในที่นี้หมายถึง Underemployment 
คือคนไม่ได้ทำงานจากสิ่งที่เรียนตรงสาย จบมาตรงสาย ทำสิ่งที่ตัวเองถนัด แน่นอนว่าหากข้ามสายรายได้จึงน้อย และจะไม่เกิด Productivity ในที่สุด โดยยุค AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง ในยุคของ Generative AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ใครเรียนอะไรมาจะถูก Disruption ได้เช่นกัน คนที่ไม่ปรับตัว คิดว่าตัวเองเก่ง ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่อัปสกิลใหม่ ๆ จะมีโอกาสถูกเทคโนโลยีแทนที่ในที่สุด
.
.
🌎 สิงคโปร์คือประเทศตัวอย่าง
สิงคโปร์ เป็นประเทศที่น่าสนใจ มีการตื่นตัว ความพร้อมอย่าง ‘Future Ready’ คือการพัฒนาคนในประเทศ เขามี Movement อย่าง Skill Future เพื่อสร้างการตื่นตัวว่าพวกคุณกำลังตกยุคแล้วนะ ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน แต่ของใหม่มาก็ต้องรีบเรียนรู้ให้ทันโลก เพราะความรู้ที่คุณมีมันไม่พอ แม้ประเทศเขาจะเก่งกาจมากเพียงใด แต่ความรู้มันเก่าไว มันต้องเติมอย่างต่อเนื่อง
.
.
🌎 ทักษะที่สำคัญความท้าทายในยุคต่อไป คือ Empathy เป็นเส้นที่จะเชื่อมทั้งหมด 
1. ทักษะ Design
เราต้องรู้จักการดีไซน์ เราอาจจะเข้าใจคำนี้ผิดไปก็ได้ บางคนอาจจะมองว่าความสวยงาม แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ แต่มันคือการนำวิทยาศาสตร์ และ ศิลปะ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกไม่ใช่เม็ดสุดท้าย ลองนึกภาพทำไมโปรดักต์ไอโฟนถึงลงตัว มันคือการดีไซน์ที่เข้าใจลูกค้า มันใช้ digital บางอย่างทำให้คนรัก ในยุคที่เราอยู่กับเทคโนโลยีคุณต้องดีไซน์ระบบทั้งหมด 
.
2. การทำงานกับคนต่างวัย
เพราะคนรุ่นผู้ใหญ่จะอยู่นานขึ้นเรื่อย ๆ เป็น Active aging คนรุ่นใหม่ขึ้นมาเร็วขึ้น มันจะมีการถกเถียงกันแน่นอน โลกต่อไปเราต้องมีความรู้ทันโลก และรู้จักโลก คนรุ่นผู้ใหญ่ได้เปรียบในการอ่านเกมทันโลก รู้เรื่องธุรกิจลึกซึ้งในบางเรื่องมากกว่า แต่ก็มีจุดอ่อนด้านไม่ค่อยทันโลก ในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ทันโลก มี Adaptability หรือการปรับตัวค่อนข้างสูง องค์กรต้องมีทั้ง 2 กลุ่มอยู่ด้วยกัน
.
3. รู้จักทำงานกับ Global Workforce
ประเทศเราขาดคนเก่ง ขาด talent เราทำงานกับคนต่างประเทศได้ไหม แต่ในทางกลับกันคนไทยไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะรายได้ในประเทศขึ้นไม่เร็ว มีเรื่องของ talentwar สงครามการแย่งตัวกันของบริษัทยักษ์ใหญ่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญของเราในยุคนี้คือต้องสร้างทักษะใหม่ เพื่อให้ทันต่อโลก
.
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
.
#CREATIVETALK #TheStandardEconomicForum2023

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น