วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

สรุปการเสวนา “ After Yingluck: What’s Next for Thai Politics” ุ6 ต.ค.ุ 60


สรุปการเสวนา “ After Yingluck: What’s Next for Thai Politics” เมื่อ ๖ ต.ค.๖๐ เวลา ๐๙๐๐-๑๑๐๐  ณ ห้องประชุม ๑๐๕ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์  ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกุล พรรคภูมิใจไทย นาย กรณ์ จาติกวณิช พรรคประชาธิปัตย์  นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา พรรคเพื่อไทย รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการ รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิชาการ(ผู้ดำเนินรายการ) ผู้เข้ารับฟังเสวานา ได้แก่ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ประมาณ ๖๐-๗๐ คน สรุปได้ดังนี้
ผู้เข้าร่วมเสวนาฯเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว โดยเฉพาะนายอนุทินฯ และ นายพงษ์เทพฯ  นาย กรณ์ฯ กล่าวว่าปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากนักการเมืองทุจริตเป็นปัญหาสำคัญ แต่ยอมรับรัฐบาลรัฐประหารปัจจุบันว่าให้ความสำคัญกับความรู้สึกของประชาชนมาก  สำหรับ นายพงษ์เทพฯ ได้ออกมาปกป้องอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ว่าไม่มีความผิด และพรรคเพื่อไทยได้สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติมามากแล้ว เช่น โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค  พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหาเรื่องการขาดผู้นำพรรคฯเพราะมีนักการเมืองหลายคนสามารถขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคฯได้  สำหรับ รศ.ดร.เจษฎ์ฯ กล่าวถึงประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ตกไปว่ามีอาจเป็นไปได้ที่รัฐบาลที่มาจากรัฐประหารอาจจะอยู่นานกว่าแผนที่กำหนดไว้เดิม อย่างไรก็ตามคาดว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากเกิน ๓๒๐ เสียง และสมาชิกวุฒิสภาที่ คสช.เป็นผู้เลือกจะเป็นกลุ่มที่กำหนดกลุ่มการเมืองที่จะจัดตั้งรัฐบาลต่อไป

สรุปการเสวนาเรื่องอาชญากรรมไซเบอร์ การก่อการร้ายทางไซเบอร์และนัยด้านต่างประเทศ  เมื่อ ๑๐ ต.ค.๖๐ เวลา ๑๐๐๐-๑๒๐๐  ณ ห้องนราธิป กระทรวงต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ของหน่วยงานไทยด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ Professor Dr. Henry Pontell จาก John Jay College of Criminal Justice มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เป็นผู้บรรยายและผู้ดำเนินรายการ มีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายและร่วมเสวานา ได้แก่ นักวิชาการ และ จนท.ทางด้านความมั่นคง ประมาณ ๕๐ คน สรุปได้ดังนี้
ผู้บรรยายได้บรรยายถึงภัยคุกคามจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ว่ามีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นมากในปัจจุบันและต้องการการตระหนักรู้ของทุกภาคส่วน และความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ผู้บรรยายได้แนะนำศัพท์ใหม่ๆทางอาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่น ผู้ก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ในปัจจุบันถูกเรียกว่า “White-Collar Criminals” และแนะนำอาชญากรรมทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ๆ เช่น “Man in the Middle” คือการที่มิจฉาชีพทางไซเบอร์เข้ามาแทรกการสื่อสารทางไซเบอร์ของบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปแล้วใส่ข้อมูลเท็จเข้าไปเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น  นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นถ้ากระทำจากต่างประเทศถือเป็นการล่วงล้ำอธิปไตยของชาติอื่น และเป็นสิ่งที่ป้องกันหรือควบคุมได้ยาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น