วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566

แชร์ประสบการณ์ลูกหนี้NPLถูกยึดทรัพย์ ep.2

ความไม่เท่าเทียมใหม่ ไม่ใช่เฉพาะชนชั้น แต่เป็นฐานะทางเศรษฐกิจ  ถึงจะชนชั้นผู้ดีไม่มีเงินก็ต้องเป็นลูกจ้าง 

ในไทยคนมีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านน้อยกว่า 10% เจ้าของที่ดินรายใหญ่จริงมีแค่ 1%

จำนวนคนจนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่รัฐ ประมาณ 14 ล้านคน/จาก 68ล้าน

ท่ามกลางที่หนี้สาธารณะ และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นมาก ผู้มีหนี้เสียหรือ NPL เพิ่มเกือบ 5.5 ล้านคน
ในฟิลิปปินส์รัฐปัจจุบันใช้เงินช่วยหนี้(Universal Basic Income)ช่วยหนี้เป็นสวัสดิการพื้นฐาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายเงินช่วยช่วงโควิต

ธปท.ออกโครงการต่างๆ เช่น คลินิคแก้หนี้ แต่มีลูกหนี้เสียเข้ารับความช่วยเหลือได้น้อยด้วยข้อกำหนดคุณสมบัติที่เข้มงวด
NPL คือหนี้เสียเกิน90วัน ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกขายให้ธุรกิจซื้อหนี้ ต้นทุนซื้อหนี้ แค่ 5% แต่สิทธิเรียกร้อง ฟ้องและบังคับคดี 100%

ธุรกิจชนิดนี้รวยเป็นอันดับต้นๆ เช่น มีบริษัทหนึ่งกำลังจะเอาเงินกำไรจากซื้อหนี้ไปทำธนาคารดิจิทัล

ธุรกิจชนิดนี้ยิ่งกว่าทำนาบนหลังคน ลูกหนี้ NPLคือหนี้สุดๆ ไม่มีปัญหาจริงคงไม่ทำ ยังไปซ้ำเติมเค้าอีก บาปกรรมจริงๆ จะเจริญได้กี่วัน

ธุรกิจหนี้ในระบบยังมีปีญหาเรื่องดอกแพง ผิดกฎหมาย การผิดชำระหนี้จะถูกลงโทษด้วยดอกผิดนัด ทำให้หนี้สูงพอกหางหมู จนเป็น NPL และต้องหนีหนี้ อายุความ 10 ปีนับแต่วันฟ้องไม่ว่าจะพิพากษาอย่างไร เช่น พิพากษาลับหลัง พิพากษาตามยอม ....
สำหรับการยึดทรัพย์จะมีข้อกฎหมายที่ลูกหนี้ควรศึกษารายละเอียด เช่น รถยนต์ผ่อนไฟแนนซ์อยู่ยังนึดไม่ได้ จนผ่อนหมด เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อลูกหนี้ 
ปัญหาการผ่อนรถไม่ไหวมีแนวทางการคืนรถก่อนไฟแนนซ์บอกเลิกสัญญา มีแนวฎีกาใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้

บ้านหรือคอนโดที่ผ่อนธนาคารยึดได้ แต่ถ้าขายได้ ต้องให้แบงค์ก่อน ที่เหลือเจ้าหนี้ฟ้องจึงจะได้

มีกฏหมายห้ามยึดของใช้ เครื่องนอน เครื่องประกอบอาชีพ ฯลฯ ซึงควรขยายเพดานเป็นตัวห้องที่ใช่ชุกหัวนอนด้วย ป้องกันปัญหาคนจรจัด และขอทานข้างถนน อาชญากรรม จี้ วิ่งราว ปล้น ฯลฯ
โครงการบ้านสวัสดิการเพื่อรากหญ้าให้มีที่อยู่อาศัย ลืมดูพวกถูกยึดทรัพย์?

ข้อเสียของเจ้าหนี้ ถ้าขายไม่ออก นาน ต้องเสียค่าธรรมเนียม จำนวนมาก อาจไม่คุ้ม ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์อื่นแล้วและหนีหนี้ 10 ปี

และถ้าติด ผ่อน แบงค์ ถ้าขายได้ แบงค์ จะได้เงินก่อน ถ้าขายถูก เงินจะไม่เหลือ ถึงเจ้าหนี้ผู้ฟ้อง....

ในกรณี บ.ซื้อหนี้ ซื้อหนี้มาถูก ประมาณ 5% จะขาดทุน ถ้ายึดทรัพย์แบบนี้

อย่างไรก็ตามคดีแพ่ง ธรรมดาไม่มีติดคุก ถึงจำเลยจะไม่มาศาล
จะติดคุก ก็ต่อเมื่อโกงเจ้าหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์หลังวันพิพากษา ซึ่งยอมความได้ อีกกรณีหนึ่งคือถูกยึดบ้านแล้วขายทอดตลาด มีคนมาซื้อแล้วยังไม่ย้ายออก จะถูกฟ้องขับไล่ ถ้าปะทะกันจะผิดอาญาติดคุกได้
ถ้าโทษเบาไม่เกิน 3-5ปี อาจรอลงอาญา ยังไม่ติดคุก และถ้าอายุเกิน 70 ปี ก็จะขอพักโทษเพื่อรอตายอย่างสงบ ต่อไป ก่อนตายทำบุญทำทานให้เยอะๆ ชาติหน้าจะได้ไม่เป็นหนี้อีก....

มีช่องทาง การไกล่เกลี่ย 3 ระยะที่ลูกหนี้ควรทราบและลองพยายามให้มากทึ่สุด ก่อนไม่มีที่ซุกหัวนอน หรือ หนีหนี้ถาวร 

1)ก่อนถูกฟ้อง
โทรคุยกับเจ้าหนี้

หรือ ปรึกษา ธปท.1213

ถ้าหนี้บัตรเสียเกิน 120 วัน
โทรปรึกษา คลินิกแก้หนี้ 1443
0900-1900 ทุกวัน

หรือ ขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
ศูนย์บริการร่วม ยธ.
โทร 1111 ต่อ 77 ต่อ 1 หรือ 0

2)ถ้าถูกฟ้องให้ไปไกล่เกลี่ยที่ศาล
เจ้าหนี้จะให้จ่ายเงินก้อน
ลูกหนี้ขอผ่อนเป็นงวดๆ เท่าที่ไหว

ถ้าตกลงไม่ได้ เจ้าหนี้จะสืบทรัพย์ และ บังคับคดียึดทรัพย์

3) เมื่อถูกบังคับคดียึดทรัพย์แล้ว ให้ขอไกล่เกลี่ย ศูนย์ไกล่เกลี่ย กรมบังคับคดี
028875072
028814999


ผู้เขียน:
🅈🄾 𝕽𝖆𝖙𝖙𝖆𝖓𝖆𝖓 𝕽𝖔𝖉𝖙𝖍𝖔𝖓𝖌
🅻🅸🅽🅴 🅸🅳 drrat.107
𝕣𝕒𝕥𝕥𝕒𝕟𝕒𝕟𝟛𝟙@𝕘𝕞𝕒𝕚𝕝.𝕔𝕠𝕞

"มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่ถ้ายัง
ไม่แก่ตาย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น