วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

ควรแก้กฏหมายซื้อหนี้ ep.2

เดิม ธปท.ไม่อนุญาตให้มีธุรกิจซื้อหนี้/สิทธิเรียกร้อง แต่ภายหลังยอมให้ทำได้  

ปัจจุบันหนี้เสียกว่า60-70% ขายให้บริษัทซื้อหนี้ เพียงประมาณ5-10%ของจำนวนเงินที่จะเรียกร้องได้ เช่น เงินต้น 7หมื่น ดอกเบี้ย4หมื่น ซื้อ-ขายหนี้ที่ประมาณ 5000-1หมื่นบาทเท่านั้น 

เนื่องจากหนี้ตัวนั้นๆมีโอกาสสูญเรียกเก็บไม่ได้สูง

อย่างไรก็ตาม เฉลี่ยแล้วยังถือว่าเป็นธุรกิจที่มีกำไรสูงมาก

โจทย์บูรณาการทาง รัฐศาสตร์/นิติศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/ฯลฯ  

จากสภาวะแวดล้อมทางนโยบาย/ยุทธศาสตร์ภาครัฐ 
การแพร่ระบาดของโควิต-19 
นโยบายลดหนี้ที่ไม่มีหลักประกันฯ 
การปรับปรุงกฎหมายแพ่งเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้/ผิดนัดให้สอดคล้องสภาพเศรษฐกิจ 
นโยบายรัฐสวัสดิการ  
กิจกรรมคลินิกแก้หนี้
กิจกรรมทางด่วนแก้หนี้ 
กิจกรรมมหกรรมไกล่เกลี่ย ปี64 
นโยบายส่งเสริมไกล่เกลี่ยและลดจำนวนคดียธ.

ควรมีการปรับนโยบาย และกฎระเบียบและกฎหมายและกิจกรรม ที่เกียวข้อง อย่างไร ในเรื่องดังกล่าว

เช่น ก)ถ้าขายหนี้ในราคาต่ำเช่นข้างบน ทำไมผู้ขายหนี้ไม่เสนอขายให้ลูกหนี้ก่อน เพื่อปิดหนี้ทันที และลดปัญหาสังคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งสำคัญกว่ากำไรของนายทุน???

ภาครัฐควรกำหนดกฎระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับ ก) ทันที อาจมีผู้ได้กำไรลดลง แต่จำนวนคดี ฯลฯ และ หนี้ครัวเรือนจริงที่ไม่รวมประโยชน์แฝงจะลดลงทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น