วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

การคำนวณดอกเบี้ยหนี้

การคำนวณดอกเบี้ยหนี้

“บทความเก่าเรื่องการคำนวณดอกเบี้ยก่อนฟ้อง”
  เพื่อในผู้เตรียมสอบทบทวนกัน มีข้อสังเกต 1 จุด ในการคำนวณดอกเบี้ยรายวัน จากการบรรยายของ ผอ.สำนักฝึกอบรมฯ จะเอาอัตราดอกเบี้ย 1 ปี หารด้วย 365 สามารถใช้ได้ทั้งสองแบบนี้ครับ
 • ผมนั่งเรียงเป็นขั้นตอนไว้ให้ดังนี้ครับ
ดอกเบี้ยมีแนวดังนี้
1 ประเภทคิดดอกก่อนฟ้อง และไม่ได้ให้จำนวนดอกเบี้ยมา
2 ประเภทคิดดอกก่อนฟ้อง แต่ให้จำนวนมา
3 ประเภทไม่คิดดอกก่อนฟ้อง

  ที่เราจะพูดถึงตามข้อ 1 กัน กล่าวคือ ผมยกตัวอย่างโดยให้ข้อเท็จจริงว่าให้คำนวณอัตราดอกเบี้ยก่อนฟ้องของต้นเงินจำนวน 120,000 บาท โดยระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน 10 วัน โดยให้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี

#สูตร 
จำนวนเงินต้น x อัตรา ดอกเบี้ย 
------------------------------------- = อัตราดอกเบี้ย 1 ปี
                 100

#ยกตัวอย่าง 
เงินต้น 120,000 บาท
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี

#จะเป็น
   120,000 x 10
------------------------- = 12,000 
          100

(0 ตัด 0 นะ จะคำนวนง่าย)
12,000 เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยในระยะเวลา 1 ปีนะครับ ยังเอามาตอบมิได้ เราต้องหาวันที่เริ่มคิดดอกเบี้ยได้ เช่น วันผิดสัญญา วันละเมิด วันรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย เป็นต้น ประเด็นนี้ข้อสอบจะหลอกเราเยอะมาก ตรงจุดนี้อาศัยข้อกฎหมายช่วย ใครแม่นข้อกฎหมายจุดนี้จะไม่พลาด จะทราบว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มเมื่อใด
  1 ปี = อัตราดอกเบี้ยก่อนฟ้อง 12,000 (1)
  1 ปี มี 12 เดือน ให้เอา 12,000 หาร 12 = 1,000  
ต่อมา เอายอดดอกเบี้ย 1 เดือน คือ 1,000 x จำนวนเดือน ในตัวอย่าง x 6 เดือน จะเท่ากับ 1,000x6=6,000 (2)
  ต่อมา อัตราดอกเบี้ย รายวันการคำนวณ 1 เดือน มี 30 วันเสมอ จึงต้องเอายอด 1 เดือน มาหารด้วย 30 จะได้อัตราดอกเบี้ยรายวัน ยกตัวอย่างตามข้อเท็จจริงข้างต้น 
    1,000 หาร 30 = 33เศษ (ตัวอย่างมีเศษ แต่ในการสอบมักจะหารลงตัวไม่มีเศษ) เอา ยอด 33 มา x จำนวนวันคือ 10 วัน = 330 บาท (3)
   ต่อมาขั้นตอนสุดท้าย เอายอดอัตราดอกเบี้ย 1 ปี 6 เดือน 10 วัน มารวมกันที่ผมวงเล็บไว้ (1)+(2)+(3) จะเท่ากับ 12,000+6,000+330= 18,330 
 สรุปอัตราดอกเบี้ยก่อนฟ้อง ของต้นเงินจำนวน 120,000 บาท เวลา 1 ปี 6 เดือน 10 วัน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี มีจำนวน 18,330 บาท เมื่อนำไปรวมกับทุนทรัพย์จำนวน 120,000 บาท จะเท่า กับ 138,330 บาท 
(18,330+120,000=138,330)

   #หมายเหตุ สูตรที่ ผอ.บรรยายจะใช้อัตราดอกเบี้ย 1 ปี หารด้วย 365 จึงจะเทียบตัวอย่างเท่ากับ
   12,000หาร365=32(เศษ) ข้อสังเกตในข้อสอบจริงจะหารลงตัวไม่มีเศษนะครับ 
   หลักดังกล่าวใช้ได้ทั้งการสอบและในการคำนวณทุนทรัพย์ในคำฟ้องจริงครับ อาจยาวหน่อยแต่สรุปมาครบแล้ว

ทนายภูดิท โทณผลิน
  ผู้เรียบเรียง

19/12/2559
ปรับปรุงเนื้อหา 
 6/2/2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น