วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประสบการณ์การถูกยึดทรัพย์

1)เป็นหนี้เจ้าหนี้ส่งจดหมายเตือนไม่ชำระหนี้ยอดหนี้ตามสัญญา

2)ต้องถูกฟ้องก่อน นัดไปไกล่เกลี่ย แต่ไม่มีเงินจ่ายตามที่เจ้าหนี้ต้องการ

3) เจ้าหนี้ทำการสืบทรัพย์ และขอศาลยึดทรัพย์ จะมีหมายมาปิดตามทะเบียนบ้านลูกหนี้ หรือทรัพย์ที่ถูกยึด

3) กรมบังคับคดีมาติดหมายหน้าบ้าน(คิดค่าปิด500บาทและติดหลายครั้งเป็นนัดๆ/งวดขายคูณจำนวน500บาท ถ้าถอนได้ก็เสียค่าปิดประกาศอีก )ขายทอดตลาดเป็นงวดๆ แต่ละงวด เจ้าหนี้ต้องจ่าย

ข้อพิจารณาเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด/ถ้าขายไม่ได้นานๆ เจ้าหนี้ใช้เงินเยอะมากกับค่าธรรมเนียม และถ้าขายไม่ได้ส่วนแบ่งเพราะติดกู้แบงค์ และลูกหนี้หนีหนี้ที่เหลือหลังขาย หมดอายุความ10ปี เจ้าหนี้จะเสียเงินค่าธรรมเนียมการขายฟรี

เช่นค่าธรรมเนียมขายนัดละ 2500
(นัดละประมาณ3-4เดือน)
ขาย 8 นัด จนราคาประมูลต่ำสุดๆ แต่ไม่มีคนซื้อ

8x2500=20,000.- ถ้ามากกว่านี้ยิ่งขาดทุน

ถ้าติดแบงค์ ส่วนใหญ่ลูกหนี้จะหยุดจ่าย ทำให้หนี้แบงค์และดอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าจ่ายได้ช้ายิ่งหนัก จะไม่เหลือส่วนแบ่งให้ผู้ฟ้อง

ถ้าไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหนี้จะให้ลูกหนี้จ่ายค่าธรรมเนียมนี้แทน สูงมาก

ค่าธรรมเนียมถอน ต่างหาก 2%ของทรัพย์

ในกรณีบ้านผ่อน ธอส. ดอกของ ธอส.จะวิ่งเรื่อยๆ ขายได้ช้า ยิ่งเยอะ

ยอดหนี้ ต้น +ดอกสูง เป็นหลายเท่าของหนี้เดิม

ถ้าขายได้ ธอส.ได้เงินก่อน เจ้าหนี้ยึด อาจไม่เหลือ หนี้ก็ยังเหลือ พร้อมดอก วิ่งเรื่อยๆ

ถ้าถึงขั้น นี้ ลูกหนี้ ต้องหนี 10 ปีนับแต่วันเริ่มบังคับคดี จะหมดอายุความ

ข้าราชการบำนาญ น่าจะเสียชีวิตก่อน

สำหรับผู้ซื้อทรัพย์ ต้องหาข้อมูลความเสียหาย การชำรุดต่างๆ ที่จะต้องจ่ายซ่อมแซม และปัญหาสังคมของห้อง ที่อยู่ 

นอกจากนี้ถ้า ลูกหนี้งดจ่ายค่าส่วนกลาง และย้ายไปอยู่ที่อื่น มานานแล้ว ผู้ซื้อต้องจ่ายแทน ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ปัจจุบัน
ถ้าขายได้ช้า ค่าส่วนกลางจะสูงมาก

ถ้าลูกหนี้เจ้าของเดิมไม่ย้าย ต้องฟ้องขับไล่ เกิดความเครียดแค้นกับลูกหนี้ และอาจแก้แค้นกันทีหลังอีก 

ชมรมหนี้บัตรเครดิต
http://debtclub.consumerthai.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น